การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย จำนวน 50 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลข้อมูลโดยการบรรยายสรุปเป็นความเรียง พรรณนาความ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการที่สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้น A: Analyze วิเคราะห์เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้น N : nature of learning ขั้นการสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจชวนสงสัย ขั้นที่ 2 สืบเสาะแล้วสร้างความคิดเป็นของตนเอง ขั้นที่ 3 คิดคู่/กลุ่ม/ทั้งชั้นเรียน ขั้นที่ 4 สรุปความรู้และนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ขั้น N : Notify การประเมินผลและรายงานการพัฒนาของผู้เรียน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 81.58/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 เท่ากับ 86.78/85.10 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมิน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ANN Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด