การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทย
สร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาธนี ไกรราษฎร์
ปีการศึกษา 2562
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกลุ่มขยายผล 2.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกลุ่มขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 32 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ JOESH Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Juicy : J) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Operate : O) ขั้นที่ 3 ฝึกฝนนักเรียน (Educate : E) ขั้นที่ 4 สรุปความรู้ (Sum up : S) ขั้นที่ 5 การนำไปใช้ (Handle : H) ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( ) ตั้งแต่ 4.60 – 4.80 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตั้งแต่ 0.43 – 0.55 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้และผลการหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) พบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 83.28 / 82.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังต่อไปนี้
2.1 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model ในภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.62)
3. ผลการขยายผลหลังการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ตารีเรอบานา” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model พบว่า
3.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก และสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.56)