รายงานผลการประเมินโครงการบูรณาการระบบบริหารประสานการเรียนรู้
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการบูรณาการระบบบริหารผสานการเรียนรู้ตามแนวคิด
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดท่าเสม็ด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นายเอกวัส มากสุข ต าแหน่งผู้อ านวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อ านวยการ
ช านาญการพิเศษ โรงเรียนวัดท่าเสม็ด อ าเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการบูรณาการระบบบริหารผสานการเรียนรู้ตามแนวคิดหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดท่าเสม็ด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครศรีธรรมราช เขต 3 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านสภาพแวดล้อม
ด้านปัจจัยน าเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจ าเป็นของการด าเนินโครงการความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเหมาะสมของกิจกรรมในการด าเนินโครงการและความสอดคล้องของ
นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อประเมินปัจจัยน าเข้าเกี่ยวกับบุคลากรของสถานศึกษา
งบประมาณ สถานที่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการ
สถานศึกษา หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการพัฒนาบุคลากรของ
สถานศึกษาและการนิเทศติดตาม 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารจัดการ ความพึง
พอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและระดับคุณภาพผู้เรียนจากการด าเนินโครงการ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการ
สถานศึกษาโรงเรียนวัดท่าเสม็ดในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จ านวน 125 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จ านวน 74 คน
ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน จ านวน 1 คน 2) ครู จ านวน 6 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 – 6 จ านวน 30 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จ านวน 30 คน 5) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จ านวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ 2) แบบสอบถามแบบ
มาตรประมาณค่า 5 ระดับ จ านวน 9 ฉบับ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
Deviation) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบ T-Test โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าเร็จรูป
SPSS for Windows และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินและ
ข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลกำรประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของ
โครงการดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก
ที่สุด (
X = 4.71, S.D.=0.48) และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายละเอียดของ
แต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงล าดับจากมากไปน้อยได้แก่ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
(
X = 4.80, S.D. = 0.33) รองลงมาคือด้านความเหมาะสมของกิจกรรม (
X
= 4.74, S.D. = 0.50)
ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ (
X
= 4.69, S.D. = 0.50) และความต้องการ
จ าเป็นของโครงการ (
X
= 4.61, S.D. = 0.58) ตามล าดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยน าเข้าของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด
(
X
= 4.68, S.D. = 0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่
ละตัวชี้วัดโดยเรียงล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สถานที่ (
X
= 4.82, S.D. = 0.39) รองลงมา คือ
งบประมาณ (
X
= 4.69, S.D. = 0.56) บุคลากรของสถานศึกษา (
X
= 4.62, S.D. = 0.49) สื่อและ
แหล่งเรียนรู้(
X
= 4.57, S.D. = 0.53) ตามล าดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมมาก
ที่สุด (
X
= 4.63, S.D. = 0.60) และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายละเอียด
ของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
(
X
= 4.76, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา (
X
= 4.65, S.D. =
0.62) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน,ด้านการนิเทศติดตาม (
X = 4.64, S.D. = 0.62) และ
ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (
X
= 4.46, S.D. = 0.64) ตามล าดับ
4.-ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับ
มากที่สุด (
X
= 4.65, S.D. = 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายละเอียด
ของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ระดับคุณภาพผู้เรียน (
X
= 4.70,
S.D. = 0.48) รองลงมาคือด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (
X
= 4.66, S.D. = 0.53)
ด้านประสิทธิผลการบริหารจัดการ (
X
= 4.59, S.D. = 0.66) ตามล าดับและผลการเปรียบเทียบ
ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบ พบว่าคะแนนทดสอบหลังการด าเนินโครงการ
สูงกว่าก่อนด าเนินโครงการอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า โครงการบูรณาการระบบบริหารผสาน
การเรียนรู้ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดควนป้อม ส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลกำรวิเครำะห์ข้อมูลเชิงคุณภำพ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ที่ให้ข้อมูล คือ นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นฐาน มีความเห็นสอดคล้องกันว่าการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ความคิด มีปัญญา มีวิธีคิด รู้จริง
รู้แจ้ง รู้ตลอด รู้เท่าทันตามเหตุผลความเป็นจริง รู้จักคิดวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ ค้นพบ
ทางเลือกเพื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติ เกิดทักษะน าไปสู่การด ารงชีวิตที่เหมาะสมแล้ว ยังจะต้องส่งเสริม
ให้บุคคลมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความเข้าใจในคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม มีเจตคติที่ดี มีทักษะ
ในการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด ารงชีวิตอยู่บนพื้นฐาน
ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจ มีวินัย มีความอดทน อดกลั้น อดออม มีความขยันหมั่นเพียร เสียสละ
ประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวมและส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจทักษะในการแก้ปัญหา
อย่างเป็นระบบ พึ่งตนเองได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพของสังคม ยุคสมัยและ
ศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งวิธีการที่จะด าเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกภาคส่วน วางแผนและด าเนินการอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจัดการเรียนรู้
ให้มีความเหมาะสมกับสภาพผู้เรียนตามล าดับ ความสามารถจากง่ายไปหายากตามระดับช่วงชั้น
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมและสมบูรณ์ทุกด้านตามที่ก าหนดไว้ในหลักสูตร
ดังนั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีการด าเนินงานตามโครงการบูรณาการระบบ
บริหารผสานการเรียนรู้ตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้อง
ตระหนักและเห็นความส าคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการก ากับติดตามผล
การด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การด าเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุ
วัตถุประสงค์ของโครงการ