รายงานการประเมินโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม
เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน
โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน นางสาวจรรยา เจ๊ะเหยง
ปีที่รายงาน 2562
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 26 คน ผู้ปกครอง จำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม การประเมินด้านสภาพแวดล้อม 2) แบบสอบถามการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3) แบบสอบถาม การประเมินด้านกระบวนการ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน 5) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน 6) แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.89 – 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน บ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่ม ที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ด้านผลผลิต (Product)ในการดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 ความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 25 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 25 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 25 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ นักเรียนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไข ด้านต่าง ๆ ที่ค้นพบ โดยปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ และส่งเสริมกิจกรรมที่ทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้น
1.2 ผู้บริหารและครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน ให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างที่ดี และควรจัดกิจกรรมกระตุ้นเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่คงทนถาวร
1.3 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัย ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา