LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

NONGLAG Model นงลักษ์ ลักษณะวิมล

usericon

ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา
ผู้วิจัย นงลักษ์ ลักษณะวิมล
ปีที่วิจัย 2563    

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นที่ส่งเสริมความ สามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะ หาความรู้ 5 ขั้นที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด1(บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า                         
    1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ขั้นตอนการการจัดการเรียนรู้ด้วย“NONGLAG Model” 7 ขั้น 1) แจ้งกิจกรรมใหม่(Notification : N) 2) สังเกตการณ์และคิดวางแผน(Observe action Or things : O) 3) ลงมือกระทำ(New movement : N) 4) กำหนดแนวทางค้นหาความรู้เพิ่มเติม(Guidelines more knowledge : G) 5) การแสดงออก(learners in the expression : L) 6) ประยุกต์ความรู้(Apply knowledge : A) และ7) เป้าหมายผลลัพธ์ในการเรียนรู้(Goal& Result in Learning : G) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนา ขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.50/81.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย( = 23.32, S.D = 2.69) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหานักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67 3) ผู้เรียนมีความความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย( = 4.67, S.D.=0.61) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^