LASTEST NEWS

05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567

เผยแพร่ผลงานของ นางปัทมา แก้วเจริญ

usericon

ชื่องานวิจัย การแก้ปัญหาในชั้นเรียนโดยการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์
ชื่อผู้วิจัย นางปัทมา แก้วเจริญ
กลุ่มสาระการการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2562    

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ตรงกับ มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนสำเร็จรูปทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน 3) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความสุข ก้าวทันต่อโลกยุคใหม่ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่ตนเองอยู่

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยชุดกิจกรรมการเรียน ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ตลอดจนชุดกิจกรรมและแบบฝึกหัดต่างๆ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ค่าสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า (t-test แบบ Dependent)

จากการศึกษาการเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมถึงปรับพฤติกรรมนักเรียนที่ขาดความรับผิดชอบในการเรียนของชั้นเรียน จากการสังเกตนักเรียนก่อนการใช้การสอนแบบ STAD มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ที่ 14.07 คะแนน แต่หลังจากการใช้การสอนแบบ STAD ทำให้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 15.14 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 7.60% และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบเท่ากับ 1.82 ซึ่งลดลงจากเดิม 0.26 ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการกระจายตัวที่ลดลงแสดงถึงคุณภาพของข้อมูลที่ดี ผู้เรียนมีคะแนนเกาะกลุ่มใกล้เคียงกันมากขึ้นส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนในด้านอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สอนทักษะต่างๆ ได้ง่ายขึ้น


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^