LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การปฏิรูปแนวคิดทฤษฎีการทดสอบ

usericon

การปฏิรูปแนวคิดทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมสู่การพัฒนาทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่
The Reformation Concept of Classical Test Theory (CTT) to Development Modern Test Theory.
นายเจนรบ โกรธา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
jenropkrotha@kkumail.com
    การจัดการศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายที่มีความชัดเจน เพื่อช่วยในการกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการของผู้เรียน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อใช้การจัดการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายยังมีส่วนช่วยในการกำหนดทิศทางของการศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม การวัดและการประเมินผลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าสำเร็จตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งยังช่วยให้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปรับปรุงละพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน เมื่อการวัดและการประเมินผลเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ทฤษฎีการทดสอบเข้ามามีบทบาทสำคัญในการวัดและประเมินผล เนื่องจากการการวัดและประเมินผลทางการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่อยู่ภายในไม่สามารถวัดออกมาได้โดยตรง เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการวัดตามคุณลักษณะที่มุ่งวัด โครงสร้างของการวัด และการพัฒนาเครื่องมือ จึงจำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีการทดสอบทดสอบเข้ามาช่วย โดยทฤษฎีการทดสอบนั้นหากแบ่งประเภทเป็น 2 ประเภทหลักใหญ่ๆ ได้แก่ ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory) และทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (Modern Test Theory)     
    ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory) จะเน้นไปทางการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่สังเกตได้กับคะแนนที่แท้จริง และวิเคราะห์คุณภาพโดยส่วนรวมของข้อสอบและแบบสอบ โดยใช้การวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบและแบบทดสอบ โดยใช้โมเดลคะแนนจริงแบบดั้งเดิม การใช้ทฤษฎีความเที่ยงและความคลาดเคลื่อน การใช้ความตรงเพื่อตรวจสอบความตรงต่างๆ หลักการการสร้างแบบทดสอบ และใช้หลักการวิเคราะห์ข้อสอบ ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมยังมีข้อด้อยของข้อตกลงเบื้องต้น มีข้อจำกัดของฐานความเชื่อเกี่ยวกับคะแนนความคลาดเคลื่อนและค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบและแบบทดสอบ จึงส่งผลให้มีนักทฤษฎีการทดสอบหลายท่านได้ก่อการปฏิรูปแนวคิดเกิดขึ้น สู่ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (Modern Test Theory) เพื่อคลายข้อตกลงเบื้องต้น และแก้ไขจุดอ่อนบางประการ    
    ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (Modern Test Theory) จะมุ่งเน้นการขยายแนวคิดของทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมให้มีขอบเขตที่กว้างขวาง และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยปรับข้อตกลงให้มีความสมเหตุสมผล ตามความจริงมากขึ้น เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของการวัด ยอมให้มีความคลาดเคลื่อนจากการวัดนั้นมีความแตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์การวัด เพื่อศึกษาความเที่ยงทั่วไป ภายใต้เงื่อนไขของการวัดตามแนวของ Generalizability Theory: G-Theory รวมทั้งศึกษาความคลาดเคลื่อนจากการวัดที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของข้อสอบและแบบสอบ ขึ้นกับระดับความสามารถของผู้สอบ และของข้อสอบและแบบสอบ ทั้งยังพยายามวัดคุณลักษณะภายในหรือความสามารถที่แท้จริงของบุคคลตามแนว Item Response Theory (IRT) นอกจากนี้ความคลาดเคลื่อนจากการวัดของบุคคลเองก็ส่งผลต่อการตอบข้อสอบมากกว่า 1 องค์ประกอบ ดังนั้นเพื่อวัดความสามารถของบุคคลจึงมี 2 องค์ประกอบขึ้นไป เพื่อให้ความสามารถหลายมิติของบุคคลสอดคล้องกับข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นและส่งผลต่อความน่าจะเป็นของการตอบถูก ตามแนวของ Multidimensional Item Response Theory (MIRT). ทั้งทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ ต่างก็ต้องการวัดที่เน้นผลผลิต และพฤติกรรมที่เกิดจากการนำความรู้และการนำทักษะไปใช้ในบริบทหรือสถานการณ์ที่เป็นชีวิตประจำวันจริงและด้วยการใช้สถานการณ์ที่เลียนแบบชีวิตจริง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^