รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ผู้ประเมิน นายธีระพันธ์ พวงจำปี
ปีการศึกษา 2563
การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาดุม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านบริบท ประเมินความพร้อมด้านปัจจัย ประเมินการปฏิบัติงานด้านกระบวนการ และประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาดุม ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน ครูผู้สอนจำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียน ป.1 – ป.6 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
1. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านบริบทของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาดุม เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นการประเมินก่อนการเนินโครงการพบว่า ผลการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ป.1 – ป.6 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545
2. ผลการประเมินความพร้อมด้านปัจจัยของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาดุม เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นการประเมินก่อนการดำเนินโครงการ พบว่าผลการประเมินโครงการ พบว่าผลการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ป.1 – ป.6 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บุคลากรที่ร่วมโครงการมีเพียงพอ
3. ผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาดุม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นการประเมินระหว่างการดำเนินงานของโครงการ พบว่าการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ป.1 – ป.6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านการประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กระบวนการดำเนินงานวางทุกงานอ่านทุกคนมีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือมีการวางแผนเนินโครงการอย่างเป็นระบบและข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการด้วยวิธีการที่หลากหลายและทั่วถึง
4. ผลการประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนวัดเขาดุม เมื่อสันที่ 10 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการพบว่า
4.1 ผลการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ป.1 – ป.6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านาหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนอ่านหนังสือได้คล่อง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขันเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
4.2 ผลการประเมินของนักเรียน ป.1 – ป.6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนอ่านหนังสือได้คล่อง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขันเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านกระบวนการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ป.1 – ป.6 พบว่า การประชาสัมพันธ์นั้นยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร ดังนั้นวิธีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้ดีอีกวิธีหนึ่งคือ การให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้เครื่องขยายเสียงประจำหมู่บ้าน
2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูที่รับผิดชอบโครงการมีโอกาสไปศึกษาดูงานเพื่อที่จะได้เกิดแนวคิดที่กว้างไกลและต่อยอดทางความคิดในการพัฒนา การดำเนินงานของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น