การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส
นางสาวภิญญาภัสส์ ทิพย์โยธา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
ผลการวิจัยพบว่า
1 องค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)
2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมาก
3. รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ชื่อว่า PGAA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบ PGAA Model พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้การประเมินด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณลักษณะของผู้มีวิจารณญาณในระดับสูง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง
1. บทนำ
นโยบายการปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาคือจัดใหมีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อลงสู่การปฏิบัติ รัฐบาลจึงกำหนดจุดเนน 6 ยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยตองปฏิรูปการศึกษาใน 5 ด้าน 1) การเขาถึง โอกาสทางการศึกษา 2) ความเทาเทียมคุณภาพ 3) การตอบโจทยบริบทที่เปลี่ยนแปลง 4) ความมีประสิทธิภาพ 5) สังคมแหงการเรียนรู และคุณธรรม มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และทักษะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559) การขับเคลื่อนปฏิรูปการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายของการศึกษา คือ การสรางกระบวนการเรียนรูเพื่อใหเยาวชนสามารถพัฒนาศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ (วิจารณ พานิช, 2555) และเดลินิวส (2559 : ออนไลน) ได้สรุปทักษะใน ศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1) องคความรู้สำคัญ ได้แก่ ความรูเกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรูเกี่ยวกับ การเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรูด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรูดานสุขภาพ (Health Literacy) ความรูดานสิ่งแวดลอม (Environmental Literacy) 2) ทักษะแหงศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะด้านการเรียนรูและนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรูตลอดชีวิต ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู 3R × 8C 3R คืออานออก (Reading) เขียนได้ (W)Riting และคิดเลขเป็น (A)Rithemetics 8C คือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแกปญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 3) ทักษะด้าน
ความเขาใจความต่างวัฒนธรรม ตางกระบวนทัศน (Cross-cultural Understanding) 4) ทักษะด้าน
ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นํา (Collaboration, Teamwork and Leadership)
5) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรูเทาทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) 6) ทักษะดานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) 7) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู (Career and Learning Skills) และ 8) มีคุณธรรม
มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย (Compassion) (วัชรา เล่าเรียนดี, 2552) กล่าวถึง ความสำคัญของทักษะการคิดว่าในยุคศตวรรษที่ 21 ว่าทักษะที่สำคัญที่สุดคือ ทักษะการคิดของ บุคคลและทักษะชีวิต (Life Skills) เพื่อจะได้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสันติสุขในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน นอกจากนั้นนักการศึกษาหลายท่านเริ่มจะเชื่อกันว่า ความรู้ เฉพาะด้านจะไม่มีความสำคัญเท่ากับการที่บุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้และสร้างความหมาย และประโยชน์จากความรู้และข้อมูลใหม่ ๆ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการจัดการศึกษา ให้กับเด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบัน คือ การส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการ เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ (Critical and Creative Thinking) จากสิ่งที่กล่าวมาแสดงให้เห็นได้ว่าการคิดและการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นเป็นสิ่งที่ สำคัญจำเป็นสำหรับคนในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เป็นทักษะสำคัญที่ควรพัฒนาให้กับผู้เรียน เป็นลำดับแรกเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไกรยส ภัทราวาท และกําจร ตติยกวี (ไทยโพสต, 2559) กลาวถึง รายงานเวทีเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกตองการในป 2020 ดังนี้ 1) ทักษะการแกไขปญหาที่ทับซ้อน 2) การคิดวิเคราะห์ 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) การจัดการบุคคล 5) การทำงานร่วมกัน 6) ความฉลาดทางอารมณ 7) รูจักประเมินและการตัดสินใจ 8) มีใจรักบริการ 9) การเจรจาตอรอง 10) ความยืดหยุนทางความคิดสอดคลองกับผลสํารวจความตองการแรงงานของนายจ้าง คาดหวังใหพนักงานมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิด สร้างสรรค์ (Creativity) แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยในยุคนี้ (ดิจิทัล) Thailand 4.0 นโยบายนายกรัฐมนตรีปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559)
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 22 กําหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสําคัญที่สุด และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้ดำเนินการ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) โดยกําหนดเป้าหมายว่า ภายในปี 2561 คนไทยยุคใหม่จะมีคุณลักษณะสําคัญ คือ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถก้าวทันโลกได้ ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดยุทธศาสตร์ การปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง เรียกว่า การปฏิรูปในสิ่งใหม่ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการใหม่ โดยหัวใจสําคัญของการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สองนี้ คือ การพัฒนาคนไทยยุคใหม่ที่มีนิสัยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิตมีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นพลานุภาพและพลังที่สําคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต (ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, 2546)
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้นการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะต้องคํานึงถึง ประสิทธิผลหรือผลการเรียนอย่างรอบด้านของผู้เรียน ทั้งในมิติของด้านการรู้คิด ทักษะปฏิบัติ และด้านคุณลักษณะ เนื่องจากรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเหมาะกับผู้เรียน ในแต่ละระดับเฉพาะรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งนั้นยังไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีแนวทางหรือกลวิธีใด รูปแบบใดบ้างที่สามารถนํามาใช้ให้บรรลุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ควรได้รับการสนับสนุนให้ครูพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูขึ้นมาใช้กับผู้เรียน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย และพัฒนาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้เกิดกับผู้เรียน โดยหวังว่างานวิจัยนี้จะเป็นรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และนําทักษะที่ได้จากรูปแบบการเรียนการสอนและมีแนวทางการคิดใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
2. ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
2. เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
3. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้าน
หนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
4. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
3. ขอบเขตการวิจัย
3.1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
องค์ประกอบของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ได้จากการสังเคราะห์ ดังนี้
1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา
2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา
3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ
4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้
5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา
3.2. ขอบเขตประชากร กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
1) การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด โดยการยืนยันของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
2) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทาง ในการส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 79 คน
3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
4. นิยามศัพท์เฉพาะ
การพัฒนารูปแบบการสอน หมายถึง กระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการนำแบบแผนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ระยะที่ 2 การศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน หมายถึง ลักษณะของข้อความที่อธิบาย สภาพการณ์หรือสภาพปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับ ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการสอน จิตวิทยาการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกระตุ้นให้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นำศาสตร์การเรียนการสอนมาใช้เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือหาคำตอบอย่างมีวิจารณญาณ
รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน หมายถึง แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา
ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา สามารถวัดเป็นคะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้โดยใช้แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ และตรวจให้คะแนนโดยใช้เกณฑ์ระดับคุณภาพ 5 ด้าน
คุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในด้าน 1) ความกระตือรือร้นและแรงจูงใจที่จะค้นหาข้อเท็จจริง 2) ความสามารถแสดงความคิดเห็นโดยอาศัยหลักการเหตุผล 3) ความสามารถทำความเข้าใจวิเคราะห์ ประเมินข้อโต้แย้งและความคิดเห็นที่แตกต่าง 4) ความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ
ที่ปรากฏ 5) ความเชื่อมั่นในสติปัญญาและคระหนักถึงข้อจำกัดของตนเอง 6) การรับฟังความคิดเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ความเชื่อ และสมมติฐานในมุมมองที่แตกต่าง 7) การเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงและหลักฐานมากกว่าความชอบหรือความสนใจส่วนตัว 8) ความระมัดระวังการเกิดอคติในการรับรู้หรือพิจารณามุมมองต่างๆ 9) การมีอิสรภาพทางความคิดโดยไม่วิตกกังวลกับความไม่เห็นด้วยของกลุ่ม 10) ความสามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาได้โดยไม่สับสนกับรายละเอียดปลีกย่อย 11) ความกล้าทางปัญญาที่จะเผชิญและเข้าถึงความคิดแตกต่างจากความคิดของตนเอง 12) ความอยากรู้อยากเห็นและอยากค้นหาความจริง 13) ความมานะพยายามที่จะสืบค้นเพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 14) ความรับผิดชอบต่อผลการคิดของตนเอง สามารถวัดได้โดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะของ ผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งมีลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้นสำหรับประเมินพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนในด้านเนื้อหาสาระด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อประกอบรูปแบบ และด้านประโยชน์และความพึงพอใจที่ได้รับ สามารถวัดได้โดยใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง นักเรียนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ปีการศึกษา 2563
5. กรอบแนวคิดการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนการวิจัย โดยใช้วิธีการเชิงระบบเพื่อนำสู่กรอบแนวคิดของการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังภาพประกอบ 1
6. วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
ระยะที่ 2 การศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
ในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
7. ผลการวิจัย
1 องค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)
2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมาก
3. รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ชื่อว่า PGAA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)
4 ผลการทดลองใช้รูปแบบ PGAA Model พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้การประเมินด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณลักษณะของผู้มีวิจารณญาณในระดับสูง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง
8. อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อภิปรายผลการวิจัยตามข้อค้นพบตามความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้
1 องค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development) มีความสอดคล้องกับ
ทิศนา แขมมณี (2543) ได้ใช้แนวคิดเหล่านี้ในการจัดการเรียนการ สอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construction of knowledge) ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้ว ยังต้องพึ่งการปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับเพื่อนบุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยรวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการ (process skills) ต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้นอกจากนั้นการเรียนรู้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ดีหากผู้เรียนอยู่ในสภาพที่มีความพร้อมในการรับรู้ และเรียนรู้มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัวไม่เฉื่อยชา ซึ่งสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้ก็คือ การให้มีการเคลื่อนไหวทางกาย (physical participation) อย่างเหมาะสมกิจกรรมที่มีลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง และความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นจะมีความลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้นหากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ (application) ในสถานการณ์ที่หลากหลายด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงเกิดแบบแผน “CIPPA” ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้น ดังนี้ 1) การทบทวน 2) การแสวงหาความรู้ใหม่ 3) การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม 5) การสรุปและจัดระเบียบความรู้ 6) การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน 7) การประยุกต์ใช้ความรู้
2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ สิริพร ดีน้อย (2560) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ด้วยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน พบว่าทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในรูปแบบต่างๆ กันลักษณะการจัดกิจกรรมเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง อภิปราย นำเสนอผลงาน รายงานศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การฝึกรับฟังความเห็น เหตุผลของผู้อื่น การฝึกการสังเกต กล้าคิด กล้าแสดงออกกล้าตัดสินใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการมากที่สุด โดยสอดแทรกกระบวนการคิดในกิจกรรมการเรียนของวิชาหลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ การคิดคำนวณ และการเขียนสรุปเนื้อเรื่อง สอดคล้องกับการศึกษาของ ศิริกานต์ คุสินธุ์ (2549) และดวงพร เกี่ยวข้องพันธุ์ (2553) ที่พบว่า การจัดการเรียนการสอนไม่ได้เน้นการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณแต่เน้นการพัฒนาความสามารถในการคิดหลายๆ ด้าน เช่น การคิดคำนวณ การคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ เป็นต้น นักเรียนจึงไม่ได้รับการฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยตรง เนื้อหาวิชาที่สอนส่วนใหญ่มุ่งเน้นความรู้ในเชิงวิชาการเพื่อให้นักเรียนสามารถสอบแข่งขันได้ และการประเมินคุณภาพการสอนไม่มีการประเมินการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสอดคล้องกับ อารยา ช่ออังชัญ (2553) ที่กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากการจัดการเรียนรู้ยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งสอนแต่เนื้อหาวิชาเป็นหลัก เทคนิควิธีสอนไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิด ขาดการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่มีการฝึกแก้ปัญหา ไม่สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริง และสถานศึกษาส่วนมากมีการนานโยบายไปสู่การปฏิบัติและมีผลของการปฏิบัติตามนโยบาย แต่ไม่มีกระบวนการหรือแนวทางในการดาเนินการที่ชัดเจนหรือเป็นระบบ
3. รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ชื่อว่า PGAA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development) มีความสอดคล้องกับ ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง (2553) ได้ทำการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู มีชื่อว่ารูปแบบการสอนพีซีเอสเอสซี (PCSSC Model) มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนการสอน (4) เงื่อนไขของการนํารูปแบบการสอนไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการเรียนรู้(Preparation) (2) ขั้นนําสู่กรณีศึกษา (Case Presentations) (3) ขั้นสรรค์หาวิธีการแก้ไข (Selection of Solutions) (4) ขั้นแบ่งปันประสบการณ์(Sharing with Groups) (5) ขั้นสืบสานสร้างความรู้ใหม่ (Construction for New Knowledge) สอดคล้องกับ ศิวภรณ์ สองแสน (2557) ได้พัฒนารูปแบบ MAPLE สำหรับพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 6 หลักการ คือ (1) หลักการเสริมแรง (2) หลักการกระบวนการคิดทางสติปัญญา (3) หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ (4) หลักการประเมินค่า (5) หลักการปติสัมพันธ์ (6) หลักการเรียนรู้ ขั้นตอนการสอน 5 ขั้น คือ ขั้นสร้างแรงจูงใจ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นนำเสนอ ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นประเมินผล
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบ PGAA Model พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้การประเมินด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความสามารถสรุปผลจากข้อมูล