รูปแบบการสอนการแก้ปัญหา
ในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย ตะวัน พันธ์ขาว
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนด้วยรูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนตามทฤษฎี
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราษีไศล จํานวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้าง
องค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “PEAPCE Model” ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน และสาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem Identification Phase) 2) ขั้นการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล (Exploration Phase) 3) ขั้นลงมือแก้ปัญหา (Action Phase) 4) ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา (Presentation Phase) 5) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction Phase) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.62/82.35 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 80% อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ละนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 80% อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด