การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์
ผู้ศึกษาค้นคว้า ทัสนา มาศพงศ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนการรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบประเมินความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทีแบบไม่อิสระและการ
วิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า “ PSRAP Model ” มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลและปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 5 ขั้น คือ PSRAP ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing:P) 2) ขั้นกลยุทธ์การเรียนรู้ (Strategies:S) 3) ขั้นสู่ผลสะท้อนคิด (Reflection:R) 4) ขั้นประเมินประสิทธิผล (Assessing : A ) และ 5) ขั้นฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ (Practicing : P) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.03/ 81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ( PSRAP Model) นักเรียนมีความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่ำกว่าเกณฑ์เป็นระดับดีเยี่ยม และนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากว่านักเรียนและครูได้แสดงบทบาทของตนเองตามความต้องการของนักเรียน มีการฝึกปฏิบัติการด้านความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. ผลการขยายผล พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่ำกว่าเกณฑ์เป็นระดับดีเยี่ยม