การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พิศมัย หงษ์ทอง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี
วิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพ 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบ 4. เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ดังนี้ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ หลังเรียน 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบแผน การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. ในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ควรได้รับการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพฤติกรรม/ค่านิยมด้านจิตวิทยาศาสตร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) กระบวนการ 3) การวัดผลประเมินผล 4. เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้น ชื่อว่า MEMC Model กระบวนการของรูปแบบมี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้น 1 สร้างศรัทธา (M: Make believe) ได้แก่ 1) กายจิตสมาธิ 2) มิติสัมพันธ์ ขั้น 2 เสริมกระบวนการ (E: Extra processes) ได้แก่ 1) จุดประสงค์/มโนทัศน์กว้าง 2) การเรียนรู้สาระใหม่ 3) กิจกรรม CTP ขั้น 3 ผสานค่านิยม (M: Merge values) ขั้น 4 สะสม/เสริมแรง (C:Collector/ reinforcement) โดยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.56/82.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แรง การเคลื่อนที่และพลังงาน เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยครูศึกษาคู่มือการใช้รูปแบบ และแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 8 แผน
4. ทำการประเมินประสิทธิผลมี 4 ด้าน คือ
1) นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนอยู่ในระดับสูง และสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2) หลังเรียน นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนอยู่ในระดับสูง และสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5