LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนศิลปะ (ทัศนศิลป์)

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน    นายชรินทร ทองเสมอ
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต
ปีที่ศึกษา    2562
บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ(ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน ร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/8ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) คู่มือรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
5) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent

ผลการศึกษาพบว่า
    1.    รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า รูปแบบ“CBL+MSL.” มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความตระหนัก (นำสู่บทเรียน) ขั้นที่ 2 ขั้นระดมพลังความคิด (เล่าประสบการณ์) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างผลงานศิลปะ (ผัสสะ มโนทัศน์ สรุปวางแผนปฏิบัติ สร้างสรรค์ผลงานศิลป์) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอผลงาน ขั้นที่ 5 ขั้นการวัดและประเมินผล
ขั้นที่ 6 ขั้นการเผยแพร่ผลงาน การทดสอบหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.42/83.25 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
    2.    ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 2.1) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) เท่ากับ 0.24
        3.    การขยายผลรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 3.1) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) เท่ากับ 0.24
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^