LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น

usericon

ชื่อผลงาน    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง)
ผู้ประเมิน    สมศักดิ์ อาแว ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ        
ปีการศึกษา    2564
        

บทคัดย่อ
    
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ระยะที่ 2 ออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 79 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 4) แบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ซึ่งแบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    ผลการสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย มีความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    จากการระดมพลังสมองของครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ตรง ที่ได้ผ่านการปฏิบัติจริง ผู้วิจัยได้นวัตกรรมทางปัญญา อันเป็นข้อสรุปผลจากการยกร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) กล่าวคือ BANSINETONG
    BANSINETONG Model เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนและในแหล่งเรียนรู้รอบโรงเรียน ประกอบด้วย
B : Brainstorm (การระดมความคิด)
A : Attention (ความสนใจ , ความใส่ใจ)
N : Natural learning resources (แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ)
S : Sufficiency Economy (เศรษฐกิจพอเพียง)
I : Identity (เอกลักษณ์ในท้องถิ่นและชุมชน)
N : Neighborhood (แหล่งเรียนรู้หรือสถานที่รอบโรงเรียน)
E : Effectively (อย่างมีประสิทธิภาพ)
T : Teaching management (การจัดการเรียนการสอน)
O : Opportunity (เปิดโอกาส)
N : Notable (บุคคลโดดเด่นในชุมชน)
G : Goal (เป้าหมาย)
โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สำหรับความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียน เทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน
จากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า
ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ทั้งโดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก
        ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^