การรายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน
โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สมุทรสาคร
ชื่อผู้รายงาน นางสาวสุนันทา จาดี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหลวงแพทย์โกศลอุปถัมภ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร เป็นโครงการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้ประเมินจึงมีความสนใจที่จะประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบ IPO Model โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs) ในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2)เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียน วัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output) ในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ จากกลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมิน 2 กลุ่ม คือ ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนวัดวิสุทธาราม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวิสุทธาราม จำนวน 7 คน ประชากรกลุ่มที่ 2 เป็นผู้ประเมินด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดวิสุทธารามชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แบบสอบถาม 2 ฉบับมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale ) 5 มีค่าความเชื่อมั่น 0.980 และ 0.933 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (µ)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () 2) เครื่องมือวัดและประเมินผล “ความสามารถในการอ่านและการเขียน”สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ 3) ครื่องมือการวัดและประเมินผล ความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) และ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (National Test : NT) (ด้านภาษาไทย) คือ เครื่องมือการวัดและประเมินผล จากสำนักทดสอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2562 สรุปผลการประเมินเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
1) ด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับ “มากที่สุด” เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านรูปแบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงบประมาณ
2) ด้านกระบวนการ ของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับ “มากที่สุด” ทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม การวัดและประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการปรับปรุงและพัฒนา และด้านการวางแผนการดำเนินงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการดำเนินกิจกรรม
3) ด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร คือ นักเรียนโรงเรียนวัดวิสุทธาราม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 48 คน
3.1 ด้านทักษะการอ่าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2562 มีทักษะการอ่าน เฉลี่ยร้อยละ 87.29 สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 8.96 อยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับดีมาก
3.2 ด้านทักษะการเขียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดวิสุทธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2562 มีทักษะการเขียน เฉลี่ยร้อยละ 82.27 สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 9.44 อยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับ ดีมาก
3.3 นักเรียนมีผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) ระดับสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.50 สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 9.00
3.4 นักเรียนมีผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (National Test : NT) ระดับสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.60 สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 8.60