การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ CIRC
การสอนแบบ CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย สุกัญญา กำเนิดจอก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
งานวิจัยปี 2562
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ คือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในรายงานครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10 โรงเรียนสุรนารีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบบูรณาการการอ่าน (CIRC) จำนวน 8 แผนๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาอังกฤษ (CIRC) จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินการทำางานกลุ่มสำหรับการสอนแบบร่วมมือแบบบูรณาการอ่านภาษาอังกฤษ (CIRC)
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า t-test (Dependent) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความเหมาะสมและดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (rtt)
ผลการรายงานพบว่า
ผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC มีรายละเอียดดังนี้
1. ผลการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC พบว่า ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลการเรียนรู้ด้านการอ่านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลการเรียนรู้ด้านการอ่านหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
ส่วนคะแนนพัฒนาของนักเรียนในแต่ละกลุ่มโดยเฉลี่ยทั้ง 8 แผน เท่ากับ 20.99 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับการพัฒนาเป็นกลุ่มเก่งมาก โดยแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคะแนนการพัฒนาเฉลี่ยสูงที่สุด คือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Sushi Crosses the Pacific มีคะแนนพัฒนา 24.58 คะแนน อยู่ในระดับการพัฒนาเป็นกลุ่มเก่งมาก และแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคะแนนการพัฒนาเฉลี่ยน้อย ที่สุด คือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง Crops, Codes, and Controversy มีคะแนนพัฒนา 15 คะแนน อยู่ในระดับ การพัฒนาเป็นกลุ่มเก่ง
2. พฤติกรรมการทํางานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC จากการประเมินโดยครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมพฤติกรรมในการทํางานกลุ่มของ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการทํางานรายด้าน พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติในระดับมากเป็นลําดับที่ 1 คือการสร้างความคุ้นเคยไว้วางใจยอมรับซึ่งกันและกัน พฤติกรรมที่ปฏิบัติในระดับมากเป็นลําดับที่ 2 คือด้านการขจัดข้อขัดแย้ง พฤติกรรมที่ ปฏิบัติในระดับมากเป็นลําดับที่ 3 คือ การจูงใจ และพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติมากเป็นลําดับสุดท้าย คือ การสื่อสารสื่อความหมาย
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC โดยภาพรวม นักเรียนเห็นด้วยมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นด้าน ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลําดับที่ 1 เห็นด้วยมากที่สุดรองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ เห็นด้วย มากที่สุดเป็นลําดับสุดท้าย เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าในด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัด การเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ประเด็นที่นักเรียนเห็นด้วยมากที่สุดเป็นลําดับที่ 1 คือ การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เหมาะสําหรับการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการทํางานกลุ่มได้ดี และประเด็นที่นักเรียนเห็นด้วยมากเป็นลําดับสุดท้าย คือ นักเรียนสามารถนําวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันไปใช้ในการเรียนรู้วิชาอื่นได้ สําหรับด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเด็นที่นักเรียนเห็นด้วยมากที่สุดเป็นลําดับที่ 1 คือ นักเรียนได้ร่วมกันเรียนรู้ และทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อเป้าหมายเดียวกัน และประเด็นที่นักเรียนเห็นด้วยมากเป็นลําดับ สุดท้ายคือ กิจกรรมการเรียนรู้ กระตุ้นให้นักเรียนกล้าถาม กล้าตอบคําถาม และกล้าแสดงความ คิดเห็นด้วยความมั่นใจ ส่วนด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ประเด็นที่นักเรียนเห็นด้วยมากที่สุดเป็น ลําดับที่ 1 คือครูแสดงความเป็นกันเองกับนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นใน การร่วมมือกันเรียนรู้ และประเด็นที่นักเรียนเห็นด้วยมากเป็นลําดับสุดท้าย คือ นักเรียนมีความ กระตือรือร้น ร่วมกันเรียนรู้เพื่อความสําเร็จของตนเองและของกลุ่ม