LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิด

usericon

บทคัดย่อ

หัวข้องานวิจัย     รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิด
ตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School
ผู้วิจัย นายสราวุธ สมรัตน์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา

    การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking Schoolประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 22 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จำนวน 21 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 21 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 24 คน ประกอบด้วย 3.1) ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาที่โรงเรียนจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เช่นกัน ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School จำนวน 2 คน 3.2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า กฎหมาย นโยบาย และแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ในระดับต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา และจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560–2579) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 แนวคิดปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม แนวคิดปรัชญา Constructivism ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School นั้น พบว่า ปัญหาที่ต้องทำการแก้ไขเร่งด่วนคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผลการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา ปีการศึกษา 2561 ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมระดับประเทศ ครู ร้อยละ 80 ยังขาดศักยภาพและสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน จากข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
        2. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ 2) การออกแบบและการพัฒนา 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ผลการออกแบบและพัฒนาได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (MADTEA Model) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Model : M การกำหนดรูปแบบสมรรถนะของครู ขั้นที่ 2 Assessment : A การประเมินสมรรถนะครู ขั้นที่ 3 Development : D การพัฒนาสมรรถนะครู ขั้นที่ 4 Take action : T การปฏิบัติ ขั้นที่ 5 Evaluation : E การประเมินผล ขั้นที่ 6 After Action Review : A การทบทวนผลการปฏิบัติงาน
        3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า
         3.1 การประเมินผลการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับสูงมาก (x ̅ = 4.64, S.D = 0.62)
         3.2 การแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 1 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (MADTEA Model) (x ̅ = 34.33, S.D. = 3.02) สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (MADTEA Model) (x ̅ = 19.38, S.D. = 3.76)
         3.3 การประเมินสมรรถนะครู ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Thinking School โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ดี (x ̅ = 4.09, S.D. = 0.65) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 2
         3.4 การสังเกตการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ของครู โดยภาพรวมครูมีการปฏิบัติได้ดี (x ̅ = 4.41, S.D. = 0.66) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
        4. การประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า
         4.1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยภาพรวม ครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.65, S.D. = 0.53) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3
         4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ ปีการศึกษาที่วิจัยกับผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา ปีการศึกษา 2561 – 2562 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.05 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.33 และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking school ปีการศึกษา 2562 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 โดยรวม ปีการศึกษา 2562 มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2561 เท่ากับ 0.16 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 4 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2562 ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 2.98, S.D. = 0.95) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2561 (x ̅ = 2.81, S.D. = 0.97) และนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดีขึ้นไปในปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 62.78 สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2561 ร้อนละ 56.85 ซึ่งสูงขึ้น ร้อยละ 5.93 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 4
        4.3 ผลจากการสนทนากลุ่มร่วมกัน โดยผู้วิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูกลุ่มเป้าหมาย สรุปว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องสัมพันธ์กัน การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School เป็นกระบวนการที่เป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาสมรรถนะครูได้จริงตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งเป็นกระบวนการในแต่ละขั้นตอนมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการชั้นเรียน การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ รวมทั้งส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น โดยครูต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนการสอนคิดตามแนวทาง Thinking school อย่างเคร่งครัดด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกันและมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติทุกขั้นตอน ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนทั้งทางด้านจัดการอบรม งบประมาณ สื่อ วัสดุ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครู และใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ในขั้นตอนการปฏิบัติ ของการใช้รูปแบบ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^