LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโคร

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
-----------
1. ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาล
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศิริญาพร เวียงสมุทรช์

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

​ในการจัดการศึกษา 4.0 ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือผลงานนั้น ต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะที่เหมาะสมกับประเทศไทย 4.0 ซึ่งไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559 : 8) ได้เสนอว่า การจัดการศึกษาจำเป็นต้องเน้นที่การคิดสร้างสรรค์ แล้วแปรความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นผลผลิตออกมา แต่การที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ได้จะต้องคิดวิเคราะห์ก่อน และเมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องรับผิดชอบตามมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาไทย 4.0 จึงต้องจัดการศึกษาให้เด็กไทยมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ คิดวิเคราะห์ (Critical) คิดสร้างสรรค์ (Creative) คิดผลิตภาพ (Productivity) และคิดรับผิดชอบ (Responsible) หรือ CCPR Model เป็นคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในยุค 4.0 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) คิดวิเคราะห์ ผู้ที่มีจิตคิดวิเคราะห์จะมองสังคมอย่างรอบด้าน รู้ที่มาที่ไปของปัญหา
ในสังคมและเข้าใจเหตุผลที่มาที่ไปของสิ่งนั้นอย่างชัดเจน 2) คิดสร้างสรรค์ ผู้ที่มีจิตสร้างสรรค์นั้น จะคำนึงถึงความคิดใหม่และการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ มองเห็นประโยชน์และการใช้สอย และการมองของใหม่เพิ่มเติม 3) คิดผลิตภาพ ผู้ที่มีจิตผลิตภาพจะคำนึงถึงผลผลิตเป็นหลัก จะมีวิธีการในการสร้างผลผลิต สร้างค่าของงานอยู่เสมอ และมีสำนึกที่จะสร้างผลงานขึ้นมาใหม่ ๆ 4) คิดรับผิดชอบ ผู้ที่มีจิตรับผิดชอบจะมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะรับผิดชอบต่อวิชาชีพ นึกถึงสังคมประเทศชาติ
​โครงงานเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้ของนักเรียนที่อยากจะค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งที่สงสัยหรืออยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งชัดเจน หรือต้องการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ทักษะกระบวนการและปัญญาหลาย ๆ ด้าน มีวิธีศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด และลงมือปฏิบัติตามที่วางแผนไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษาหรือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน(Project Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบโดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนอย่างใกล้ชิดใน 7 ขั้นตอน คือ 1) การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า 2) การวางแผนในการทำโครงงาน 3) การลงมือปฏิบัติทำโครงงาน 4) การบันทึกผลการปฏิบัติงาน 5) การเขียนรายงาน 6) การนำเสนอโครงงาน 7) การประเมิลผลโครงงานซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่มโครงงาน (ลัดดา ภู่เกียรติ. 2552 : 22) โครงงานจึงเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งต่างจากการกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบอื่นๆ โดยใช้ข้อเท็จจริงของโครงงานเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ โครงงานที่ดีนั้นต้องสามารถอธิบายข้อเท็จจริงของปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ การเรียนรู้ด้วยซึ่งโครงงานจะต้องใช้แหล่งข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้า สืบสอบแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ พร้อมทั้งผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อปรึกษาหารือกันได้ตลอดเวลาลักษณะต่างๆ ของแหล่งข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว จะมีอย่างครบถ้วนอยู่บนเว็บ ดังนั้น เมื่อนำเอาวิธีการสอนแบบโครงงานมาจัดการเรียน การสอนบนเว็บ ยิ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการสอนแบบโครงงานสูงขึ้น
​การพัฒนารูปแบบ วิทยา อารีราษฎร์ (2549 : 69) ได้นำเสนอการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการสอน คือ (1) การวิเคราะห์ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาของงานวิจัย ศึกษาเอกสารรายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญญา แล้วรวบรวม สรุปผลและเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย (2) การออกแบบ เป็นการนำกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปแบบได้แก่ คำจำกัดความ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และเครื่องมือในการประเมินผล (3) การพัฒนา เป็นการสังเคราะห์รูปแบบตามที่ได้ออกแบบไว้ และนำไปประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ (4) การทดลองใช้ เป็นการนำรูปแบบที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว มาใช้เป็นแบบในการพัฒนา และ (5) การประเมินผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อสรุปผลจากการศึกษาแนวคิดและกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา R and D (Research and Development) ดังกล่าวสรุปได้ว่า การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ขั้นตอน ที่ 3 การวิจัย(Research: R2) : การทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไข สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยการสร้างเป็นโมเดลเป็น PACE Model ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ P = การวางแผน เป็นการวางแผนในการดำเนินงาน A = การปฏิบัติ ให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ได้วางไว้ C = การนำทฤษฎี การสร้างความรู้สู่การพัฒนา และ E = การประเมินผลในการพัฒนาต่อไป
​จากการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า ครูขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะ นักเรียนขาดในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ เนื่องจากวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูไม่สอดคล้องกับการจัดการศึกษา 4.0 ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือผลงานนั้น ต้องพัฒนาให้ผู้เรียน มีคุณลักษณะและทักษะที่เหมาะสมกับประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการจัดการศึกษาจำเป็นต้องเน้นที่การคิดสร้างสรรค์ แล้วแปรความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นผลผลิตออกมา และสนองตอบต่อแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ที่มุ่งหวังให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งหวังให้จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ครูยังยึดรูปแบบการสอนแบบ เดิม ๆ ที่มีครูเป็นศูนย์กลางการสอน ใช้หนังสือและกระดานดำเป็นเครื่องมือในการสอน ครูขาด การวางแผนในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งการจัดการเรียนรู้ และนักเรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสอนของครูเท่านั้น ทำให้การจัดการเรียนรู้ ไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นไปตามข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ครูเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลักการสอนเพื่อให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม ต้องสอนให้นักเรียนรู้แบบโครงงาน หรือการสร้างชิ้นงาน โดยในโครงงานหรือชิ้นงานนั้น นักเรียนต้องตอบได้ว่ามีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร ในอดีตการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เราไม่เคยนำวิชา STEM เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
​ผู้วิจัยในฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา รับผิดชอบฝ่ายวิชาการ ได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว จึงมีความสนใจที่จะทำการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เพื่อให้เกิดการนำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมาใช้จัดการเรียนรู้แก่นักเรียนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านการเรียนรู้แบบโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น







3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
​1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​2. เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​3. เพื่อดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​4. เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

4. ระเบียบวิธีการวิจัย
​การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีครูผู้สอนและนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2562 เป็นหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) โดยมีแนวคิดสำคัญที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอน
​ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการเปิดตาราง เครจซี่ และ มอร์แกนได้แก่ ครูในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 22 คน และนักเรียน 216 คน โดยการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
​เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน และการสนทนากลุ่ม
​วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา


5. ผลการวิจัย
​5.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​การเสนอผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยตอบคำถามการวิจัยข้อที่ 1 คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีวิธีการดำเนินการอย่างไร โดยมีรายละเอียดดังนี้
​ ผู้วิจัยได้ดำเนินการประชุมระดมความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูเกี่ยวกับปัญหาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ที่มีปัญหาที่พบปัญหาจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันพบว่าโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวทางแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานให้แก่นักเรียน โดยให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดมา โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตลอดมา และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2558-2559 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมในปีการศึกษา 2558 โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 71.45 ในปีการศึกษา 2559 โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 70.45 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนลดลง ควรมีการพัฒนาด้านการบริหาร งานวิชาการเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น และจากการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า ครูขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะ นักเรียนขาดในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ เนื่องจากวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูไม่สอดคล้องและสนองตอบต่อแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ที่มุ่งหวังให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งหวังให้จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ครูยังยึดรูปแบบการสอนแบบเดิม ๆ ที่มีครูเป็นศูนย์กลางการสอน ใช้หนังสือและกระดานดำเป็นเครื่องมือในการสอน ครูขาดการวางแผนในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งการจัดการเรียนรู้ และนักเรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสอนของครูเท่านั้น ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นไปตามข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ครูเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลักการสอนเพื่อให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม ต้องสอนให้นักเรียนรู้แบบโครงงาน หรือการสร้างชิ้นงาน โดยในโครงงานหรือชิ้นงานนั้น นักเรียนต้องตอบได้ว่ามีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร ในอดีตการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เราไม่เคยนำวิชา STEM เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

​5.2 การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​​การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า "PACE Model" ประกอบด้วยขั้นตอน P : Planning = การวางแผน A : Action = การปฏิบัติ C : Constructivist Learning = การสร้างความรู้ และ E : Evaluation = การประเมินผล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอนให้เกิดประสิทธิภาพต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ นำไปดำเนินการตามขั้นตอนโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการประเมิน ความเหมาะสม ปรากฏว่า รูปแบบนี้มีความเหมาะสมและเป็นไปได้

​5.3 การดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ได้มีการนำรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายในไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครูและนักเรียน ผลการทดลองใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D. = 0.62) ผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน-หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

​5.4 การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​ การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยการประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูและนักเรียน ปรากฏว่าครูและนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.46)

6. ข้อเสนอแนะ

​ผู้วิจัยขอเสนอแนะการวิจัยทั้งเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะจากการวิจัย ดังนี้
​1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
​​1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนารูปแบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน
​​1.2 ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอน
ต่อไป
​2. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
​​​​2.1 จากการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานยังขาดความบกพร่องในการเขียนรายงานโครงงาน ควรจัดให้มีการนิเทศภายในให้แก่ครูทุกภาคเรียน เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นไปตามขั้นตอนทุกขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
​​​​2.2 ผู้บริหารควรจัดให้มีการนิเทศแบบกำกับ ติดตาม ดูแล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานดำเนินไปตามขั้นตอนของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
​​​​2.3 ครูผู้สอนควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับการฝึกปฏิบัติการจัดทำโครงงานให้แก่นักเรียนที่จัดทำโครงงาน เพื่อให้การดำเนินการจัดทำโครงงานดำเนินไปตามขั้นตอนของการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
​​​​2.4 ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามสภาพการณ์ปัจจุบัน
จะทำให้เกิดการพัฒนาด้านศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น

​​​​2.5 ควรจัดให้ผู้มีความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเข้าร่วมเป็นผู้นิเทศกับผู้บริหารในการนิเทศครูผู้สอน เพื่อจะได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปรับปรุงต่อไป
​ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
​​1. ควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบโครงงาน โดยใช้หลักการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบหลักการวิจัยปฏิบัติการ
​ 2. ควรมีการศึกษาการปฏิบัติที่ดีในการจัดทำโครงงานและเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
​​3. ควรศึกษาการพัฒนาการบูรณาการโครงงานเข้ากับทุกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มากกว่า 1 สาระการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดโครงงานที่มีการบูรณาการกลุ่มสาระ การเรียนรู้หลาย ๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้

การนำไปใช้ประโยชน์
​1. ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
​2. ทำให้ครูในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ได้มีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
​3. ใช้เป็นข้อสนเทศสำหรับโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้
​4. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สามารถจัดทำ
โครงงานที่เป็นครูต้นแบบด้านโครงงานได้
​5. ทำให้ครูได้มีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเองได้
​6. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้มีโครงงานเข้าร่วมประกวดผลงานทางด้านวิชาการที่ถูกต้องตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
​7. ทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และจัดทำโครงงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการให้สอดคล้องกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์เป็นไปตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^