รายงานการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนา
ผู้วิจัย กิตติชัย แผ่นจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวเชดวิทยา
ปีที่ทำวิจัย 2562-2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ในด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิภาพ (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) 2) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินโครงการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ การประเมินระยะที่ 1 ก่อนดําเนินโครงการ การประเมินระยะที่ 2 ระหว่างดําเนินโครงการ และการประเมินระยะที่ 3 หลังดําเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทาง การศึกษา จำนวน 108 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 127 คน และผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามการประเมินโครงการตามรูปแบบ CIPPIEST MODEL และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินตามรูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการประเมินก่อนการดำเนินโครงการ ด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการประเมินระหว่างดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ผลการประเมินหลังการดำเนินโครงการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นจากข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินโครงการ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ทำให้ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการดำเนินโครงการ
3. ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทำให้โรงเรียนบัวเชดวิทยาและนักเรียนได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันต่างๆ