การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่
ผู้วิจัย นางสุภารัตน์ สิรไชยพัฒน์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2)พัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย ท31102 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิด ในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 5)แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินการอ่านตามสภาพจริง 7) แบบสอบถามความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะการอ่านได้แก่ เนื้อหาในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาภาษาไทย ท31102 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนพิบูลมังสาหาร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้แก่ 1) อิเหนา ตอนศึก กะหมังกุหนิง 2) นิทานเวตาลเรื่องที่ 10 3) วรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม 4) มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร 5) เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร 6) นิทาน คำกลอนเรื่องพระอาภัยมณี ตอนพระอภัยพบนางสุวรรณมาลี 7) เรื่องสั้น : เราคือลูกของแม่พระธรณี จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทย สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่านักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนวรรณคดี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนจนไม่สามารถพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอน ASACE Model นี้ ช่วยส่งเสริม ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอน ASACE Model มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Activating) 2) ขั้นใฝ่เรียนรู้(Studying) 3) ขั้นคิดวิเคราะห์(Analyzing) 4) ขั้นนำเสนอผลงาน (Concluding) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสม มากที่สุดและ นำรูปแบบการสอนไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.76/81.47
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน ASACE Model ที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือ ในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี พบว่า ผลการเรียนรู้ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
4) ผลการประเมินรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.61)