Think Pair Share เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน
ผู้วิจัย นางทองประกาย ณ ถลาง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต จำนวนนักเรียน 45 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) ชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน ที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นข้อสอบชุดเดียวกัน แต่สลับข้อกัน) 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการทดสอบค่าที ( )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐาน นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ปานกลาง การสอนแบบบรรยาย และใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อ ขาดสื่อที่ดึงดูดใจให้นักเรียนตั้งใจเรียน และความต้องการในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนต้องการให้มีสื่อ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบต่าง ๆ มีกิจกรรมกลุ่ม จากการสัมภาษณ์ครูสรุปได้ว่าการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้มาก เพราะครูจะต้องมีเทคนิควิธีสอน ที่จะเร้าความสนใจให้นักเรียนต้องการเรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาในบทเรียน รู้จักการใช้สื่อประกอบการสอน เพื่อเน้นให้นักเรียนได้คิดจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
2. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น คือ 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2. ขั้นเรียนรู้ 3. ขั้นคู่คิด 4. ขั้นทำงานกลุ่ม 5. ขั้นตรวจสอบและทดสอบ 6. ขั้นสรุปและประเมินผล ชุดกิจกรรม ที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ส่วนที่ 1 ส่วนหน้า ได้แก่ ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจง คำชี้แจงสำหรับครู คำชี้แจงสำหรับนักเรียน ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรม มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ สาระสำคัญ และจุดประสงค์การเรียนรู้ ส่วนที่ 2 ส่วนการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้และตัวอย่าง กิจกรรมที่ 1-4 แบบทดสอบหลังเรียน ส่วนที่ 3 ส่วนหลัง ได้แก่ ตารางบันทึกคะแนน เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน เฉลย/แนวคำตอบชุดกิจกรรม เฉลยทดสอบหลังเรียน บรรณานุกรม ประวัติผู้จัดทำ และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.47/86.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด