การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษา เรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปผล ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” มีประสิทธิภาพ 83.78/82.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว
2. คะแนนเฉลี่ยการเปรียบเทียบจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
โดยกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้การจัดประสบการณ์การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการจัดประสบการณ์เท่ากับ 189.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.41 คิดเป็นร้อยละ 49.29 และค่าเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์ เท่ากับ 318.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.27 คิดเป็นร้อยละ 82.84 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านความคิดคล่องแคล่ว มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 29.06 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.98 คิดเป็นร้อยละ 83.04 ด้านความคิดริเริ่ม มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 29.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.77 คิดเป็นร้อยละ 83.90 ด้านความคิดละเอียดลออ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 116.16 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.95 คิดเป็นร้อยละ 82.97 และด้านความคิดยืดหยุ่นมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 144.37 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.31 คิดเป็นร้อยละ 82.49 พบว่า คะแนนวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นสูงกว่าก่อน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม”โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 2.69 S.D = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเนื้อหาที่เหมาะสม, บรรยากาศในการเรียนน่าสนใจและสนุกสนาน, นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ,ใช้เวลาเหมาะสมในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น, นักเรียนเข้าใจคำชี้แจงการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครูอธิบายให้ฟัง, การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภาพประกอบสวยงาม , มีตัวอักษรตัวเลขชัดเจนเหมาะสม , กิจกรรมการเรียนรู้สร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียน , นักเรียนมีความสุขในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น , การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความน่าสนใจ ตามลำดับ