รายงานการประเมินโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจฯ
รายงานการประเมินโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง เกี่ยวกับความเหมาะสม ความชัดเจน ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายกับกิจกรรม 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ในการดำเนินโครงการ และกิจกรรมตามโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง เกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการ ด้านการเตรียมการ การดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม การประเมินผลและการสรุปรายงานผล 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง เกี่ยวกับทักษะของนักเรียนทางด้านกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 5) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง ของนักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน ที่มีต่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3–6 จำนวน 22 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3–6 จานวน 22 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มี 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินด้านบริบท 2) แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3) แบบประเมินด้านกระบวนการ 4) แบบประเมินด้านผลผลิต
5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS for Windows) ในการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ว่า
1. การประเมินด้านบริบท ของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง จากการประเมินของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง จากการประเมินของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
3. การประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง จากการประเมินของครูผู้สอน โดยภาพรวมเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ และด้านการปฏิบัติงานตามกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า กิจกรรมการปลูกดอกดาวเรือง กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว และกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ ประเมินโดยครูผู้สอน ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
4. การประเมินด้านผลผลิต ของโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง จากการประเมินของครูผู้สอนและผู้ปกครอง ด้านทักษะการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
5. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความพึงพอใจของครูผู้สอน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอนระเบียง โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้เช่นกัน