การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชุมชนบ้านตูม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ผู้ประเมิน บุญถม ปุระพรม
ปีที่ทำการพิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม
ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง 4) ประเมินด้านผลผลิต
ของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็น
ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง และ 5) ประเมินด้านผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม
ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยประยุกต์ใช้รูปแบบประเมินของซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 187 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 83 คน และผู้ปกครอง จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีจำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 2 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 3 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 ฉบับที่ 4 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยรวมพบว่า มีความสอดคล้อง และเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสม และเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน
และผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม ประกอบด้วย 7 กิจกรรมดังนี้ กิจกรรมคัดกรองนักเรียน กิจกรรมรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน กิจกรรมป้องกันและช่วยเหลือ และกิจกรรมส่งต่อนักเรียน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน
และผู้ปกครอง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
4.1 คุณลักษณะของนักเรียน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า
อยู่ในระดับมากที่สุด 12 ข้อ ระดับมาก 1 ข้อ
4.2 ความพึงพอใจในการดำเนินงานของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
4.3 ความพึงพอใจในการดำเนินงานของโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านตูม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
คำสำคัญ การประเมินโครงการ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน