LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ
    เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
ผู้วิจัย    นางจันทิพย์ ทิพยสิริโชค บิ๊กเกโลว์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
    โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน สังกัดเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
    จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ศึกษา    2562

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน 4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน จํานวน 12 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ในการจัดเพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.90 แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของครูผู้สอน มีค่า IOC 1.00 ทุกข้อ แบบประเมินความสามารถในการจัดเพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 และ แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน มีค่าอำนาจจำแนก 0.26 - 0.93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) บุคคล 2) งบประมาณ 3) วัสดุอุปกรณ์ องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การเตรียมการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) ประเมินผลการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ องค์ประกอบหลักที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ครูมีความสามารถในพัฒนาหลักสูตร 2) ครูมีความสามารถในการออกแบบการจัด 3) ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรม 4) ครูมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี 5) ครูมีความสามารถในการวัดผลประเมินผลการจัดกิจกรรม องค์ประกอบหลักที่ 4 ผลลัพธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
2) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ องค์ประกอบหลักที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การรายงานผล 2) ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย 1) การเตรียมการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) การประเมินผลการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ผลการประเมินมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน เป็นดังนี้
4.1 ครูมีความสามารถในการจัด ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ครูมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^