รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิต
ผู้รายงาน นางอมรา เพทาย
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดสำราญ
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนหาดสำราญ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดบยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1990 : 16) อ้างถึงในเยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. 2556 : 56-62) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 45 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .90-.96 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของนักเรียน และแบบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน รายบุคคลตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนหาดสำราญ ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มผู้ประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.61, S.D.= 0.18) และ ( = 4.61, = 0.64) อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนหาดสำราญ ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.62 , = 0.15) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็น/ตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนหาดสำราญ ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ที่ประเมินภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.67, = 0.15) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.63, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.61, S.D = 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ พิจารณาเป็นรายประเด็นดังนี้
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนหาดสำราญ ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.50, = 0.23) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.49, S.D. = 0.34) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.45, = 0.30) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูเพื่อการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้ ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72 , = 0.61) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.70 , S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง การประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียน ด้านน้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม และการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ โดยภาพรวมภาวะสุขภาพนักเรียนปกติ อยู่ในระดับดีมาก เฉลี่ยร้อยละ 93.55 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพแต่ละรายการ พบว่า ทั้ง 5 รายการ ได้แก่ รายการนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ รายการนักเรียนไม่มีปัญหาภาวะทางโภชนาการ และรายการนักเรียนไม่มีปัญหาภาวะทางทันตกรรม มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด เท่ากัน เฉลี่ยร้อยละ 94.44 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ รายการนักเรียนสถิตินักเรียนไม่เกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน ร้อยละ 92.22อยู่ในระดับดีมาก ส่วนรายการนักเรียนสถิตินักเรียนมีการเจ็บป่วย มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด เท่ากัน เฉลี่ยร้อยละ 90.00 อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง การทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโดยภาพรวมนักเรียนมีค่าร้อยละเฉลี่ยรายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ร้อยละ 94.44 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละสมรรถภาพ พบว่า รายการลุกนั้ง 60 วินาที มีค่าเฉลี่ย ร้อยละสูงสุด ร้อยละ 96.67 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ ดัชนีมวลกาย (สมส่วน) และรายการงอตัวไปข้างหน้า มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.56 อยู่ในระดับดีมาก ส่วยดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 90.00 อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.55 , = 0.34) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.27, S.D.= 0.67) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด ( = 4.20, S.D.= 0.59) อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เทียบเคียง เพื่อปรับปรุงพัฒนาสร้างสรรค์ “6อ 3ส” ที่กำลังดำเนินการอยู่ให้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
1.2 ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบควรนำกิจกรรม “6อ 3ส” ประยุกต์ใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมแต่ละโรงเรียน เพื่อศึกษาผลกระทบในการพัฒนาสุขภาพของนักเรียน
1.3 ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาสุขภาพนักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาต่อไป
1.4 ครูที่ปรึกษาควรสร้างความเข้าใจอันดี มีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนและผู้ปกครอง มีเวลาพบปะพูดคุยกับนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อ สุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดกับนักเรียน
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพนักเรียนระดับประถมศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 หรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน