การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายวรเมธ งะเจ๊ะ
ปีการศึกษา 2562
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อทดสอบรูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดชนาธิปเฉลิม) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) ด้วยการศึกษาวิธี
การเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) เสริมด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และ
การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียด
เชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบเชิงกระบวนการมีการดำเนินการ 8 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้น (W : Waken) ขั้นที่ 2 สังเกต (O : Observation) ขั้นที่ 3 ทบทวน (R : Review) ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ (A : Act) ขั้นที่ 5 จัดการ (M : Manipulate) ขั้นที่ 6 ประเมินผล (A : Assessment) ขั้นที่ 7 สรุป (C : Conclusion) ขั้นที่ 8 ช่วยเหลือ (H : Help)
2. ผลการทดสอบรูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียน
การสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
2.2 พัฒนาการทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ WORAMACH MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดละเอียดเชิงนวัตกรรมรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างเรียนสูงขึ้น