LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (C

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่องประชาธิปไตยใน ท้องถิ่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย กัลยกร เชือกพรม
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 4 (วัดหนองใหญ่) ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่ม ทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใน การวิเคราะห์ เรื่องประชาธิปไตยในท้องถิ่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2)
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนดวย
การจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำ กิจกรรม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่อง ประชาธิปไตยในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเมืองพัทยา 4 (วัดหนองใหญ่) สังกัดสำนัก การศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประชาธิปไตยในท้องถิ่น จำนวน 30 ข้อ แบบวัด ความสามารถในการวิเคราะห์ จำนวน 4 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ( Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่อง ประชาธิปไตย ในท้องถิ่น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแบบของลิเคอร์ท ซึ่งประกอบด้วยคำถามที่มีลักษณะการตอบแบบ



มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่อง ประชาธิปไตยในท้องถิ่น นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสทธิภาพเท่ากับ 81.97/81.41 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่อง ประชาธิปไตยในท้องถิ่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการวิเคราะห์ เรื่อง ประชาธิปไตยในท้องถิ่น มีความสามารถในการวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการแบ่งกลุ่ม ทำกิจกรรม (Committee work method) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใน การวิเคราะห์ เรื่อง ประชาธิปไตยในท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.52, S.D. = 0.12) อันดับแรก ด้านการจัดกระบวนการ รองลงมา ด้านสาระการเรียนรู้ และด้านสื่อการเรียนรู้ ตามลำดับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^