LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ “SIKAO MODE&

usericon


ชื่อผลงาน : การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 – 2563
ผู้รายงาน : นายสมชาย อินทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2562 - 2563

บทคัดย่อ
การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 – 2563 จำแนกเป็น 3.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 3.2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2562 –มีนาคม 2564 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 256 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 265 คน 2) กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 50 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 52 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2562 จำนวน 256 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 265 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และ 5) กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียน รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.973 – 0.978 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเสร็จสิ้นปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 และครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 ช่วงเดือนมีนาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
     สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.07, S.D. = 0.63) รองลงมาได้แก่กลุ่มครู( µ = 4.02, σ= 0.62) และผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.02, S.D. = 0.69) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน x-bar = 3.93, S.D. = 0.70 )
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.67, S.D. = 0.58) รองลงมาได้แก่กลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.66, σ= 0.59) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x-bar = 4.57, S.D. = 0.71) สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ปกครองและครูต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกา ประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2562 - 2563 โดยภาพรวม พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ใน ระดับมาก(µ= 4.10,σ= 0.56)รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมากเช่นกัน (x-bar = 4.01 , S.D. = 0.61 )
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( µ = 4.64 , σ= 0.62 ) รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x-bar = 4.57 , S.D. = 0.70 ) สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. คะแนนเฉลี่ย (GPA) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชา ผดุงวิทย์ หลังการพัฒนา พบว่า
ปีการศึกษา 2562 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 2.84 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 3.45 รองลงมาสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 3.40 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 2.32
ปีการศึกษา 2563 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 3.08 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 3.62 รองลงมาสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 3.33 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 2.49 สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O –NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.03 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 33.46 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 มีค่าคะแนนเฉลี่ยรอยละ 34.46 แสดงให้เห็นว่าหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 - 2563 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าก่อนการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 ทั้ง 2 ปีการศึกษา โดยปีการศึกษา 2562 โดยรวมลดลง - 57 ปีการศึกษา 2563 ลดลง - 0.37
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 27.67 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 28.76 แสดงให้เห็นว่า หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2656 – 2563 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนการพัฒนา 1 ปีการศึกษา โดยปีการศึกษา 2562 ลดลง – 0.06 ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น 1.09
5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดี ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2562 -2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.04, S.D. = 0.57) รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.03, S.D. = 0.72) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ เครือข่ายชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (x-bar ,= 3.97, S.D. = 0.60 , 0.61)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ต่อพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.66,σ = 0.59 ) รองลงมาได้แก่กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.63, S.D. = 0.59, 0.68 ) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x-bar = 4.56, S.D. = 0.71) สอดคล้องตามสมมติฐาน

ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัย การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ครั้งนี้ทำให้ค้นพบจุดเด่น ของการเป็นแบบอย่างที่ดีจากปัจจัยสนับสนุน 4 ด้าน ตามกลยุทธ์ “SIKAO MODEL” ซึ่งเป็นประโยชน์ และแนวทางในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนต่อไป
    ข้อเสนอแนะในการนำการวิจัยไปใช้
    ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนต้องกำหนดนโยบายและเปาหมายการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ ตามกรอบกิจกรรม และกลยุทธ์ที่กำหนด
     ด้านการพัฒนาครู โรงเรียนควรเร่งรัดให้ครูเป็นครูมืออาชีพ (สอนเป็น เห็นผล คนยกย่อง)
     ด้านการจัดการเรียนรู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนควรส่งเสริม/เปิดโอกาส ให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติและสอดแทรกคุณลักษณะความเป็นคนดีไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามกลยุทธ์ที่กำหนด
    ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนควรพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็น “ครูที่พูดไม่ได้” ครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่จอดรถ สนามกีฬา สวนพฤกษศาสตร์ สวนป่า บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน โรงอาหาร ห้องพักครู ห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องสมุด และห้องเรียน เป็นต้น
    หลังการพัฒนาควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความคงทน ต่อเนื่องและยั้งยืนของพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน สู่การพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และนโยบายของโรงเรียนและนโยบายแห่งรัฐ
    ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
    ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นดีสู่ความยั่งยืน
    ควรศึกษาผลกระทบเชิงบวกของการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดี ของนักเรียนที่ปรากฏต่อชุมชน หรือสังคมในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน
    ควรมีการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนในรูปแบบหรือลักษณะอื่นๆอย่างหลากหลาย เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางต่อไป












กิตติกรรมประกาศ

การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “SIKAO MODEL” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้ความอนุเคราะห์ ช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษา ดังต่อไปนี้
ขอขอบคุณนายธัชชเวชว์ จันทร์สุขศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 รองศาสตรจารย์ ดร. สุเทพ สันติวรานนท์ รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการประเมินผลและวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ นางชนิดา วิสะมิตนันท์ อดีตศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะเชี่ยวชาญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 นายภิญโญ จินตนปัญญา ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญโรงเรียนกันตังพิทยากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 นายสมปอง ห่วงจริง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญโรงเรียนคันธพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 ที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือในครั้งนี้
ขอขอบคุณ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ครู และนักเรียนโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ที่ให้ความร่วมมือ และความสะดวกในการเก็บข้อมูลเพื่อรายงานการวิจัยในครั้งนี้
คุณค่าประโยชน์ คุณงามความดีทั้งหลาที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้รายงานขอมอบเป็นกตัญญุตาบูชาแด่ บิดา มารดาและบูรพาจารย์ที่เคยอบรมสั่งสอน รวมทั้งผู้มีพระคุณทุกท่าน ที่ให้ความรู้ ประสบการณ์ สติปัญญา ที่เป็นเครื่องนำพาชีวิตเพื่อความเจริญ ก้าวหน้า และพัฒนาประเทศชาติต่อไป






นายสมชาย อินทรโชติ
ผู้อำนวยการโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^