LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

Best Practice

usericon

ชื่อผลงาน         นวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS สู่การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
กับการจัดการเรียนรู้ Active Learning
ชื่อผู้ส่งเข้าประกวด    นางสาวนิรดา คำเสน
            ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านไทรบ่วง
            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

1.ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
ปัจจุบันสังคมโลกเกิดการขยายตัวในทุกมิติโดยปราศจากพรมแดนขวางกั้นเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกันและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน การแสวงหาความรู้จำเป็นต้องใช้ทักษะในด้าน การเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ นักเรียนต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ เพราะความรู้มีมากมายในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอยู่ในปัจจุบัน กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นใน ศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาหน้าชั้นเรียนทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายไม่มีความสนใจในเนื้อหาที่ครูบรรยาย เกิดปัญหาการขาดความใส่ใจวิชาเรียน และไม่เข้าใจบทเรียนเพราะสิ่งที่ครูบรรยายให้นักเรียนฟังเป็นสิ่งที่ครูนำมาใส่ให้เด็ก ไม่ได้เกิดจากความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน แล้วเราควรทำอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างแท้จริง สอนในเรื่องที่ผู้เรียนมีความสนใจจริงๆ แต่ยังอยู่ในขอบข่ายที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้การศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมายในสู่ ยุคความรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิต ในศตวรรษที่21” (21st Century Skills) จะเกิดขึ้นได้จาก “ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก” (ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และ วรางคณา ทองนพคุณ, 2556.) การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 เริ่มด้วยการฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนจากครูสอนเป็นพี่เลี้ยง ครูฝึก (Coach) การเรียนแบบ บูรณาการสหวิชาการ เชื่อมโยงความรู้กับจินตนาการ เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปธรรมให้ผู้เรียนมีทักษะที่ต้องการ เช่น การทำงานร่วมกัน ความคิด สร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี ซึ่งการจัดการศึกษาต้องสร้างความพอใจให้ผู้เรียนและท้าท้ายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียน การศึกษาอยู่ในยุค 4.0 โดยผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อการสอนทุกรูปแบบ (ชวลิต โพธิ์นคร, 2560.)
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ให้จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้งโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนจะได้รับ ให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว (active participation) ทั้งด้านกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงหมายถึง ผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติคุณลักษณะ ฯลฯ จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทเด่น ครูมีบทบาทในลักษณะการถ่ายทอดน้อยลง แต่ทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวก กระตุ้นและให้คำแนะนำ ชี้แนะ แนวทางต่างๆ ตามความจำเป็น ครูจำเป็นต้องเตรียมการสอน จัดเตรียมกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีตามจุดประสงค์การปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ผ่านมา ยังไม่สามารถจัดการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนดได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการปฏิรูปด้านหลักสูตรและการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาครูในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองที่เรียกว่า Active learning ซึ่งได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับผู้เรียนทุกระดับ โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีคุณภาพ สามารถนำความรู้และทักษะต่างๆ มาใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุก คนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิด สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ ใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ ประยุกต์ใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณและความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge-based society) ดังนั้นทุกคน จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560)
จากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนบ้านไทรบ่วง ได้คะแนนเฉลี่ย 29.03 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ความรูความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง ประกอบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ยังไม่สูงเท่าที่ควร นอกจากนี้จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พบว่า ในหน่วยที่ 3 หินและซากดึกดำบรรพ์ เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่ เนื้อหาค่อนข้างมาก ยุ่งยาก ซับซ้อน และต้องเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมถึงจะเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
จากสภาพปัญหาที่พบดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงจัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS ซึ่งเป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หินและซากดึกดำบรรพ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อใช้เป็นสื่อเสริมประกอบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นสิ่งที่จะทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับนักเรียนให้เกิดความอยากที่จะเรียนรู้ ส่งผลต่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นผ่านการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองโดยตัวนักเรียนจะต้องได้ปฏิบัติและสร้างความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องรวดเร็วรอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำและจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันในแต่ละสาระการเรียนรู้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขั้นสรุปและรายงาน (Action)
นวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS เรื่อง การจำแนกประเภทของหิน และวัฏจักรของหิน โดย ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ช่วยส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งผลจากการประเมินคุณภาพนวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน มีคะแนนเฉลี่ยเทากับ 48.33 คะแนน ซึ่งระดับการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม เนื่องจากนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับเนื้อหา สอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ ความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ ในการเรียนการสอนได้สะดวก ขนาดตัวหนังสือมีความเหมาะสม และมีความคุ้มค่า คงทน ใช้งานได้นาน และจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 คน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 8.27 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) เท่ากับ 1.27 และคิดเป็นร้อยละ 82.73 ทั้งนี้เป็นผลมาจากนวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS มีความสอดคล้องกับเนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ มีความน่าสนใจ กระตือรือร้น สนุกสนานอยากที่จะเรียนรู้ เป็นสิ่งที่แปลกใหม และมีการเรียงลำดับกิจกรรมที่เหมาะสมได้อย่างเป็นระบบขั้นตอน ภาษาที่ใช้ มีความถูกต้อง เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับระดับนักเรียน นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติกิจกรรมการทดลองได้ด้วยตนเอง โดยใช้รูปแบบที่นักเรียนเป็นผู้สำรวจตรวจสอบเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจดบันทึกข้อมูล ทำใหนักเรียนสามารถนำผลจากการทำกิจกรรมการทดลองมาสร้างเป็นองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีและจดจำความรู้ได้นานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในการจัดการเรียนรูเป็นรูปแบบกระบวนการกลุ่มนักเรียนจึงได้อภิปรายความรูร่วมกับสมาชิกในกลุ่มเกิดการแลกเปลี่ยนความรูระหว่างกัน อีกทั้งผู้จัดทำยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้กับนักเรียนจริง จึงทำใหนักเรียนที่ได้เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ BOX OF ROCKS เรื่อง การจำแนกประเภทของหิน และวัฏจักรของหิน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่นอยกวาเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่ครูผู้สอนได้กำหนดไว้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^