การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้
วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL
ผู้วิจัย นางสุธิดา แวหะยี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่)
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SCS&ALกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ขั้นตอนในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอนของครู และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) และวิเคราะห์ผู้เรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D&D) รูปแบบการสอน SCS&AL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implementation : I) รูปแบบการสอน SCS&AL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) รูปแบบการสอน SCS&AL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.49/82.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL มีค่าโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 2.80, S.D. = 0.07)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน SCS&AL มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.54)