รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม
ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งรวงทอง ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน นายเลอศักดิ์ ล่ำล่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งรวงทอง
หน่วยงาน โรงเรียนทุ่งรวงทอง ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนทุ่งรวงทอง ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์แบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 108 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.88 - 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Window v.24
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งรวงทอง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, = 0.22)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งรวงทอง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, = 0.27)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะ
คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งรวงทอง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, = 0.23)
4. ด้านผลผลิต เป็นการประเมินในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และด้านความพึงพอใจ
ต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งพิจารณาแต่ละด้านสรุปผล ดังนี้
4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ประกอบด้วย คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ 8 ประการ ดังนี้
4.1.1 ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, = 0.23)
4.1.2 ด้านซื่อสัตย์ สุจริต พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากร
ทางการศึกษานักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, = 0.23)
4.1.3 ด้านมีวินัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของระดับความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, = 0.31)
4.1.4 ด้านใฝ่เรียนรู้ พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, = 0.30)
4.1.5 ด้านอยู่อย่างพอเพียง พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและ
บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, = 0.28)
4.1.6 ด้านมุ่งมั่นในการทำงานพบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและ
บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, = 0.29)
4.1.7 ด้านรักความเป็นไทย พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, = 0.24)
4.1.8 ด้านมีจิตสาธารณะ พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, = 0.27)
4.2 ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งรวงทอง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อการประเมินผลผลิตของโครงการ เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, = 0.31)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไข ด้านต่างๆ ที่ค้นพบ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่ทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไป และปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง และควรจัดกิจกรรมกระตุ้นเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนมีกำลังใจในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเกิดเป็นพฤติกรรมที่คงทนถาวร
3. ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนตามความเหมาะสม โดยเริ่มต้นจากที่บ้านและมีการประสานความร่วมมือกับโรงเรียน
4. ควรมีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลโดยทั่วไป
5. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามบริบทที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
3. ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อ
เปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน