รายงานการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกน
นำจัดการเรียนร่วม โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ 5 ขั้นตอนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
ชื่อผู้รายงาน นางสาวมณฑาทิพย์ ขันแก้ว ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการนิเทศ การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูการ
ศึกษาพิเศษ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ 5 ขั้นตอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบ 5 ขั้นตอน ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 2) เพื่อศึกษาผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูการศึกษาพิเศษ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมหลังการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่ได้รับการนิเทศแบบ 5 ขั้นตอน ครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 5) เพื่อได้ผลงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้การศึกษาพิเศษหลังการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้การนิเทศแบบ 5 ขั้นตอนครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ เป็นครูการศึกษาพิเศษ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ปี การศึกษา 2554 จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ ก่อน – หลัง การอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนครูการศึกษาพิเศษ แบบประเมินความพึงพอใจของครูการศึกษาพิเศษที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบ 5 ขั้นตอน และ แบบประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียนครูการศึกษาพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนครู
การศึกษาพิเศษ พบว่า คะแนนการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษก่อนการอบรม มีค่าเฉลี่ย 18.33 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.59 และหลังการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ย 26.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.23 สูงกว่าก่อนการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน และมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.33
2. ผลการสังเกตพฤติกรรมการสอนครูการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 3.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.169 อยู่ในระดับปานกลาง ครูมีการปฏิบัติมากที่สุด คือด้านการใช้สื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25
ผลการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูการศึกษาพิเศษ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.09 อยู่ในระดับมาก ครูปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการเตรียมการ 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17
ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินพฤติกรรมการสอนของ
ครูการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 พบว่า พฤติกรรมการสอนของครู ครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.09 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.30
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูการศึกษาพิเศษ พบว่า ครูมีความพึงพอใจ โดยรวมทุกรายการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.07 ครูมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การเสริมแรงให้ผู้รับการนิเทศมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ มีค่าเฉลี่ย 5.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 และรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดทำรายงานการนิเทศเพื่อสรุปผลการนิเทศ มีค่าเฉลี่ย 3.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50
4. ผลการประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษ พบว่า ระดับคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.46 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับดีที่สุด คือ ชื่อเรื่องและประเด็นปัญหาการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย/ประชากรและกลุ่มวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีค่าเฉลี่ย 4.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 รายการที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ มีค่าเฉลี่ย 4.22 ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44