รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน : ภูวดล เม่งช่วย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี
หน่วยงาน : โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่ประเมิน : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตของการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ตัวบ่งชี้ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (Context Input Process Product Evaluation Model : CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 343 คน แบ่งเป็น นักเรียน จำนวน 160 คน ครู จำนวน 22 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 148 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 5 ฉบับ มีการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .742 - .887 รายงานสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา จำนวน
1 ฉบับ และรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ตัวบ่งชี้ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563
สรุปผลได้ดังนี้
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, = .62) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด
ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และรองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = .62) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2.ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, = .59) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ด้านกระบวนการ (Process) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, = .58 และ.56) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมที่ประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.46, = .55) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมที่ประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = .56) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมที่ประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ด้านผลผลิต (Product) ในการดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องของโครงการพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .52) ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มครู และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.45, = .51 และ .58) และกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = .51)
4.2 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดไตรสามัคคี
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.29 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านมีวินัย เพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 16.42 รองลงมา คือ ด้านซื่อสัตย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.17 ส่วนด้านรักความเป็นไทย เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ร้อยละ 0.00
4.3 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ตัวบ่งชี้ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมและทุกตัวบ่งชี้มีคุณภาพ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
4.4 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, = .49 และ = .48) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือกลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .54) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = .56) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา
เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.2 โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
1.3 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4 ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามบริบทสภาพของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
2.3 ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป