เผยแพร่ผลงาน
ชื่อผู้วิจัย นางเสาวนีย์ จิอู๋
ชื่อโรงเรียน / สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ปีที่ทำการวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ โดยการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมด้วยเกมการศึกษาหรรษา โดยให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ80 มีคะแนนสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชาย หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1)แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการณ์เสริมด้วยเกมการศึกษาหรรษาเพื่อพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้และ2)แบบทดสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการณ์เสริมด้วยเกมหรรษาสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จำนวน 20 ข้อ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยรูปแบบ One Shot Case Study สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการทดสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจำนวนเด็กทั้งหมด และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ เด็กร้อยละ 80 มีคะแนน ทดสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม
2. ผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการณ์เสริมด้วยเกมการศึกษาหรรษาสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เพื่อการพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมด้วยเกมการศึกษาหรรษา สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 คิดเป็นร้อยละ 83.13 เมื่อจำแนกความสามารถรายด้านพบว่า ด้านการนับจำนวนและรู้ค่า 1-13 มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 4.25 คิดเป็นร้อยละ 85 ด้านการเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.13 คิดเป็นร้อยละ 82.50 ด้านการเรียงลำดับ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.17 คิดเป็นร้อยละ 83.33 และด้านรูปร่างมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เท่ากับ 4.08 คิดเป็นร้อยละ 81.67 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ เด็กร้อยละ 80 มีคะแนน ทดสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม