LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ)
โดย    จิราภรณ์ ถ้ายง่วน
ปีการวิจัย    2562

บทคัดย่อ
    รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการวิจัย 2562 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ) มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 18 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน 10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
    1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ที่พัฒนาขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย (22 คน) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.03/85.88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สร้างขึ้นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด



ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ
ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ)
โดย    จิราภรณ์ ถ้ายง่วน
ปีการวิจัย    2563

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน 5) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการวิจัย 2563 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนในการใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์
2) หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน
คิดวิเคราะห์ จำนวน 9 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ และสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
    1 ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า
        1) นักเรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าของรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
        2) นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน
        3) นักเรียนกล้าแสดงออก สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้องชัดเจน
        4) นักเรียนรู้จักช่วยเหลือเกื้อxxxลกัน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่มมีความสามัคคีกัน
    5) นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
    2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า คะแนนการทดสอบย่อยและการทดสอบหลังเรียน (9 คน) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 71.07./70.44 คะแนนการทดสอบย่อยและการทดสอบหลังเรียน (30 คน) มีประสิทธิภาพ 82.12/80.93 และคะแนนการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง (28 คน) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.57/83.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
    3. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน
แบบร่วมมือกัน โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ ชุด นิทานคุณธรรมนำการอ่าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. คะแนนการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนทุกกลุ่มมีคะแนนตั้งแต่ 13.20-15.60 แสดงว่าทุกกลุ่มมีประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก
    5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบร่วมมือกันร่วมกับการใช้หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมประกอบภาพการ์ตูน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.53 ,S.D.= 0.62)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^