การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานฯ KRUTIP Model
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางทิพยาภรณ์ สมปอง
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการอ่าน การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ร้อยละ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียน เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กำหนดระยะเวลาในการทดลอง 15 ชั่วโมง รูปแบบของการทดลองใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pre –test Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบทความ นิทาน และเพลง การออกแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ผลการปรับโครงสร้างเวลาเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความต้องการเรียน เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้านสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่สาระที่ 1 การอ่าน โดยเนื้อหาที่นำมาอ่านมีหลากหลาย และเห็นควรให้เพิ่มการฝึกการอ่านนอกเวลา เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถสรุปความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และสร้างนิสัยรักการอ่านการค้นคว้า มีพื้นฐานด้านการคิดที่ดีทำให้การเรียนรู้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถนำไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนของ KRUTIP Model ได้แก่ ขั้นที่ 1 K (Knowledge) ขั้นการเรียนรู้, ขั้นที่ 2 R (Reading) ขั้นอ่านและตรวจสอบความเข้าใจ, ขั้นที่ 3 U (Understand) ขั้นเข้าใจพร้อมปฏิบัติภาระงาน, ขั้นที่ 4 T (Team) ขั้นปฏิบัติภาระงานเป็นทีม, ขั้นที่ 5 I (Insert) ขั้นต่อเติมคำศัพท์ให้สมบูรณ์ และขั้นที่ 6 P (Performance) ขั้นปฏิบัติการตีความและประเมินชิ้นงาน ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวม
มีประสิทธิภาพ 87.35/86.55 (S.D. = 0.95, 0.54) มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
เมื่อพิจารณารายวงจร พบว่า วงจรที่ 1 มีประสิทธิภาพ 86.92/85.81 (S.D. = 0.97, 0.49) วงจรที่ 2 มีประสิทธิภาพ 87.20/86.75 (S.D. = 0.93, 0.54) และ วงจรที่ 3 มีประสิทธิภาพ87.92/87.10 (S.D. = 0.94, 0.59) ตามลำดับ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานทุกวงจร เมื่อพิจารณารายขั้นของรูปแบบ พบว่า ขั้นที่ 1-2 (K –R) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.07 (S.D. = 0.70), ขั้นที่ 3 (U) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.23 (S.D. = 1.02) , ขั้นที่ 4 (T) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.07 (S.D. = 0.99), ขั้นที่ 5 (I )
มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.07 (S.D. = 1.02), และขั้นที่ 6 (P)มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.26 (S.D. = 0.96) ตามลำดับ
3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำหนดเกณฑ์ผ่าน 80% ก่อนเรียน จำนวนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ16.13 ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 83.87 ( = 20.13 S.D. = 2.47) หลังเรียน จำนวนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ100.00 ( = 26.58 S.D. = 0.96) ก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยร้อยละ 67.10 ( = 20.13 S.D. = 2.47) หลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยร้อยละ 88.60 ( = 26.58 S.D. = 0.96) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีปนระสิทธิผล เท่ากับ 0.4529 คิดเป็นร้อยละ 45.29
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 ,S.D.= 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ถึง มากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รูปแบบการเรียนรู้ KRUTIP Model ส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน, รองลงมาคือนักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม และ บรรยากาศในการเรียนการสอนมีความเป็นกันเอง ตามลำดับ