การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
ชื่อผู้วิจัย นางสุจิตรา ม่วงน้อย
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purpose Random Planting) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณลักษณะของนักเรียนและแบบวัดเจตคติต่อการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและการทดสอบด้วยค่า (t-test defendant) การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Main) ร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1 รูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยการสร้างข้อตกลง (R : Relating) การอธิบายความ(E : Eplanining) การเรียนรู้และปฏิบัติ(L & D : Learning and Doing) การประเมินผล (E : Evaluating) และการพัฒนา (D : developing) นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของหลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้ และผลที่เกิดกับนักเรียน ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า โดยรวมรูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 คุณลักษณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยรวมนักเรียนมีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านนักเรียนมีคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อนักเรียนมีคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 เจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยรวมนักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
3 การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้และผลที่เกิดกับนักเรียนแล้ว ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมรูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด