LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็

usericon

หัวข้อเรื่องที่วิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดย
ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์
ชื่อผู้วิจัย นางสุภิญญา เงินพรหม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงานที่สังกัด เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลอ้อมน้อย
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการ
เรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็น
ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ตามแนวคิดของวิลเลียมส์2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดย
ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียน
การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์และ
(4) ประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดย
ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลอ้อมน้อย สังกัดเทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่ง
ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)
แบบสอบถามครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการ
เรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test for Independent Samples และ
Two –Way ANOVA Repeated Measures
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลอ้อมน้อย
สังกัดเทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหามีสภาพการจัดการเรียนรู้โดยภาพ
รวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.63 , SD = 0.26) และความต้องการ มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้ โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.56, SD = 0.17)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์พบว่า
2.1 ผลการสังเคราะห์ร่างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
ปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ ประกอบด้วย 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2)
วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน (Syntax) 4) ระบบสังคม (Social System) 5) หลักการตอบสนอง (Principle
of Reaction) 6) ระบบสนับสนุน (Support System) โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจผู้เรียน
(Stimulate the Creative Thinking: S) 2) ขั้นแนะนำให้รู้จักกับแนวความคิดในการสร้างสรรค์งาน
(Introduction of the Creative Work Concept: I) 3) ขั้นเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Learning by Doing: L) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presenting the Creative Work: P) และ 5) ขั้นประเมินและสะท้อนผล (Assess and Reflects
ability of Art Awareness and Appreciation: A)
2.2 ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ทฤษฎี
พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Bruner) ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคม
ของไวก็อตสกี้ (Vygotsky) และแนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดของวิลเลียมส์
2.3 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (M= 4.74, SD = 0.12) แผนการ
จัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกแผนโดยมี ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากบ
4.63 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.17 และประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ
81.91/81.74
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดย
ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์พบว่า
3.1 ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียน
การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ หลัง
เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการพัฒนาการของการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอน
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ วิลเลียมส์ พบว่า
นักเรียนที่เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการ
เรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์มีพัฒนาการของการคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีมาก
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ
เด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำ
รูปแบบการสอนตามแนวคิดของวิลเลียมส์ ไปทดลองใช้ในขั้นตอนที่ 3 ของการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยนำผลการวิจัยมา
ประมวลทบทวนเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน เพื่อให้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เพิ่มประเด็นสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และสาระความรู้ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติมของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^