การประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน
ผู้รายงาน นางสาวศศิวิมล หอมนวล หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 37 (แพร่-น่าน) ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านบริบท (Context) โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน 2) เพื่อประเมินความ เหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการ (Process) โครงการพัฒนาระบบ สารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของผลผลิต (Product) โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน 5) เพื่อ ประเมินด้านกระทบ (Impact) โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงานโรงเรียนปัว จังหวัดน่าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการ บริหารแผนงาน คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานสารสนเทศงานบริหารแผนงาน ในปีการศึกษา 2562-2563 ดังนี้ 1) คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปัว จำนวน 9 คน 2) คณะกรรมการบริหารงาน แผนงาน ได้แก่ ครูและบุคลากรโรงเรียนปัว ที่ปฏิบัติหน้าที่แผนงานโรงเรียน จำนวน 16 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ จำนวน 5 คน 4) เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานสารสนเทศงานบริหาร แผนงาน ได้แก่ ครูและบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงการผ่านระบบสารสนเทศงานบริหาร แผนงาน โรงเรียนปัว ของแต่ละกลุ่มบริหารงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ และกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน จำนวน 23 คน 5) คณะครูและบุคลากรโรงเรียน ได้แก่ คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบสอบถาม มี 5 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามฉบับที่ 1 การประเมินความสอดคล้องด้านบริบท ของโครงการพัฒนาระบบ สารสนเทศงานบริหารแผนงานโรงเรียนปัว สำหรับ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปัว คณะกรรมการ บริหารงานแผนงานโรงเรียนปัว คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว 2) แบบสอบถามฉบับที่ 2 การประเมินความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว สำหรับ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปัว คณะกรรมการบริหารงานแผนงานโรงเรียน ปัว คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว 3) แบบสอบถามฉบับที่ 3 การประเมินความเหมาะสมด้าน กระบวนการของโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงานโรงเรียนปัว สำหรับ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปัว คณะกรรมการบริหารงานแผนงานโรงเรียนปัว คณะครูและ บุคลากรโรงเรียนปัว 4) แบบสอบถามฉบับที่ 4 การประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิตของ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานแผนงานโรงเรียนปัว สำหรับ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ สารสนเทศ 5) แบบสอบถามฉบับที่ 5 การประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ งานบริหารแผนงานโรงเรียนปัว สำหรับ เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานสารสนเทศงานบริหารแผนงาน ข 6) แบบสอบถามฉบับที่ 6 การประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหาร แผนงานโรงเรียนปัว สำหรับคณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และร้อยละ (Percentage)
ผลการศึกษาพบว่า 1. ความเหมาะสมด้านบริบท พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารแผนงาน คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านบริบท ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารแผนงาน คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว เกี่ยวกับความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3. ความเหมาะสมด้านกระบวนการ พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารแผนงาน คณะครูและบุคลากรโรงเรียนปัว เกี่ยวกับความเหมาะสมด้าน กระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 4. ประสิทธิผลด้านผลผลิต พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ เกี่ยวกับประสิทธิผลด้านผลผลิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5. ด้านผลกระทบ พบว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานสารสนเทศงานบริหารแผนงาน เกี่ยวกับด้านผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริหารแผนงาน โรงเรียนปัว ใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว