การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเร
ของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ผู้ศึกษา นางจิราวรรณ หัตถกิจ
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา 101 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ สัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยผ่านกระบวนการ(PLC) 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและยืนยันร่างรูปแบบการนิเทศภายใน 5 คน ระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูและบุคลาการทางการศึกษา จำนวน 101 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการนิเทศและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่ พึงประสงค์ของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยผ่านกระบวนการ(PLC) 4) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน 5) แบบประเมินความสามารถด้านการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน 6) แบบประเมินความสามารถด้านการจัดทำเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน 7) แบบประเมินความสามารถด้านการจัดทำรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน 8) แบบประเมินสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน และ 9) แบบประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย() และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน() ทดสอบที (t-test) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น(Priority Needs Index)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว พบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย() เท่ากับ 3.45 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.91 และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย() เท่ากับ 4.26 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.73
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย
7 องค์ประกอบ คือ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหาการนิเทศ 4. กลไกการดำเนินงาน 5. กระบวนการนิเทศภายใน ประกอบด้วย ร่วมสำรวจและวิเคราะห์สภาพความต้องการ (S : Survey and Analyses needs) ร่วมวางแผนและให้ความรู้นิเทศออนไลน์ (P : Plan and Inform Online Supervisory) ร่วมสร้างนำพาสู่การปฏิบัติการนิเทศ (A : Act and Observe Online Supervisory) ร่วมสะท้อนคิดเรียนรู้สู่การพัฒนา (R : Reflect and Develop Teaching) ร่วมสรุปประเมินและรายงานผล (E : Evaluate and Report Teaching) ร่วมสนับสนุนเครือข่ายพัฒนาสู่สังคมออนไลน์
(S : Support and Declare Social Network) 5. การวัดผลประเมินผล 6. การประเมินรูปแบบและ 7. เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ในสถานศึกษา
3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว พบว่า
3.1) ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนสูงกว่าก่อนการนิเทศ และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
3.2) ผลการประเมินความสามารถด้านการจัดทำเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
3.3) ผลการประเมินความสามารถด้านการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
3.4 ผลการประเมินความสามารถด้านการจัดทำรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
3.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.43 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับ มากที่สุด
3.6 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.47 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.59