LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive Engl

usericon

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program : IEP)
เพื่อพัฒนาทักษะและส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ ภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ผู้ศึกษา     นางจิราวรรณ หัตถกิจ    
ปีการศึกษา     2563
บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) เพื่อพัฒนาทักษะและส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ(Quantitative and Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ทั้งระบบโดยใช้รูป แบบการประเมิน CIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม(Daniel L. Stufflebeam) 2) พัฒนาทักษะและส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program : IEP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยมีกลุ่มประชากร จำนวน 177 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) เป็นครูชาวต่างชาติและครูไทย จำนวน 6 คน ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ จำนวน 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวัฒนานครที่อยู่นอกโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) จำนวน 101 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 24 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ปีการศึกษา 2563 เป็นนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) ของโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) จากเครื่องมือที่ทำ การวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนกับสิ้นสุดการเรียน ด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา(Content analysis) เมื่อสิ้นสุดโครงการเป็นเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสัมภาษณ์กลุ่ม(Group Interview)

    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ
    1.1 โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ทั้งระบบโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.34 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.69 พิจารณารายด้าน ดังนี้
    ด้านบริบท (Context : C) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.33 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.43 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    ด้านกระบวนการ (Process : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.26 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.73 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    ด้านผลผลิต (Product : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.33 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.65 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    1.2 พัฒนาทักษะ และส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 24 คน มีผลการประเมินด้านการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนที่มีเกรด 4 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 เกรด 3.5 จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 29.16 และเกรด 3 จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33
    1.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.59 พิจารณารายด้าน ดังนี้
    ด้านบริบท (Context : C) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.52 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.57 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.47 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.59 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    ด้านกระบวนการ (Process : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.46 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.60 อยู่ในระดับ มากที่สุด

    ด้านผลผลิต (Product : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.46 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.61 อยู่ในระดับ มากที่สุด
    2. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
    สรุปผลจากการสัมภาษณ์ครูชาวต่างขาติ จำนวน 3 คน ครูไทย จำนวน 10 คน และ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 จำนวน 24 คน พบว่า
    ด้านบริบท (Context : C) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน
วัฒนานคร และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ให้การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
สนับสนุนงบประมาณ สื่อการสอน สื่อมัลติมีเดียเป็นอย่างดี
    ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 จำนวน 24 คน ปีการศึกษา2563 เป็นนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) โดยการคัดเลือก และ ความสมัครใจของผู้ปกครอง เมื่อผ่านโครงการนี้ ได้พัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะในการใช้ภาษา และมีประสบการณ์ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
    ด้านกระบวนการ (Process : P) การใช้กลยุทธ์การสอน “Learn and do to be success” สามารถพัฒนาทักษะ และส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีและความรู้สึกชอบภาษาอังกฤษมากขึ้น
    ด้านผลผลิต (Product : P) ผลการวัดผลและประเมินผลระหว่างการเรียน และสิ้นสุด การเรียนการสอนของนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) สามารถพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษต่อยอดต่อไปในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และสามารถเป็นห้องเรียนนำร่องโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program : IEP) ต่อเนื่องถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษาต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์

    

    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^