LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

วิจัยการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL

usericon

ชื่อผลงาน        การวิจัยการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL
        โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 - 2563
ผู้รายงาน        นายอภัย ภัยมณี
        ผู้อำนวยการโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2562 - 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (D.L.Stufflebeam’ s CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบของนักเรียน หลังการพัฒนา โดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีต่อการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ประชากรครู ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .95-.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่า
1.    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ต่อการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.95, =0.24) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.89, S.D.=0.21) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.88, S.D.=0.30) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.77, S.D.=0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.75, S.D.=0.22) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 4.64, =0.26) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2.    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 จำแนกตามกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า
    ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 3.81, S.D.=0.28) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (= 3.76, =0.40) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ( = 3.67, S.D.=0.41) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
    ปีการศึกษา 2563 ดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.65, S.D.=0.34) อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.64, S.D.=0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มผู้ประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู และกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ย (, = 4.58, ,S.D.=0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมที่สะท้อนความรับผิดชอบของนักเรียนตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
    ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณา แต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.97, =0.12) อยู่ในระดับดี ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.75, S.D.=0.35) อยู่ในระดับดี เช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.70, =0.39) อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.57, S.D.=0.37) อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4.    สรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายองค์กรชุมชน ต่อการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียน สทิงพระชนูปถัมภ์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 พบว่า
    ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.94, =0.21) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 3.92, S.D.=0.22) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.70, S.D.=0.40) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
    ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.69, S.D.=0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (= 4.64, =0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.61, S.D.=0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน

ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้ SONG-LE MODEL โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 – 2563 ครั้งนี้ทำให้ค้นพบจุดเด่นของการเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทาง ในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนต่อไป
1.    ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
        1.1     S : Strategy (กลยุทธ์ที่แยบยล) สถานศึกษาอื่นควรกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เนื่องจาก การบริหารเชิงกลยุทธ์นั้นยังมีประโยชน์ต่อองค์กร คือทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ เพราะการบริหารเชิงกลยุทธ์จะกำหนดทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนทำให้ผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้องทราบถึงแนวนโยบายการบริหารงานและสามารถช่วยยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานขึ้นมาได้ ทำให้องค์กรบริหารงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และช่วยให้ผู้บริหารมีการทำงานในลักษณะเชิงรุก (Proactive) มากกว่าเชิงรับ และป้องกันตัว (Reactive and Defendive) ซึ่งทำให้องค์กรปรับตัวได้ดีกว่า
        1.2    O : Open minded Adminstration (เปิดใจกว้างสร้างทางเลือกที่หลากหลาย) “เป็นการบริหารจัดการที่ดี” เนื่องจากโรงเรียนจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว กิจกรรมลักษณะในหน้าที่ความรับผิดชอบและการเปิดใจกว้างในการสร้างทางเลือกและเลือกทางเลือกในการร่วมมือรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะเป็นพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จอีกครั้ง มีการมอบหมายงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับ ทุกกลุ่มงาน/ฝ่าย ในการดำเนินทุกกิจกรรมตามขอบข่ายงานและภารกิจเพื่อร่วมกันวางแผนและทำงานให้สำเร็จตามกรอบกิจกรรมที่ร่วมกำหนดไว้
        1.3    N : Network (ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา) หมายถึง การปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมนั้นไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน ระดับองค์กร หรือระดับชาติ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนทัศน์ปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Owenership) และจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมหรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยินยอมปฏิบัติตาม (Compliance) และรวมถึงตกลงยอมรับ (Commitment) ได้อย่างสมัครใจและสบายใจ
        1.4    G : Growth Mindset (สนุกกับการแก้ปัญหา/พัฒนาสิ่งใหม่) ภายใต้กิจกรรมสร้างสรรค์ “หนึ่งห้องเรียนหนึ่งนวัตกรรม” ที่โรงเรียนใช้เป็นกิจกรรมขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Active Learning) กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research - based Learning) เรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของ การเรียนรู้ เพราะเป็นรู้ที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้และการทดสอบความสามารถในการรับรู้ด้วยตนเองของนักเรียน
        1.5     L : Leadership (สร้างผู้นำทำความดีด้วยหัวใจ) ภายใต้กิจกรรมสร้างสรรค์ “การเรียนรู้ผ่านโครงงาน” (Project-based Learning) การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกรูปแบบหนี่งที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทตนเองจากการเป็นผู้ให้ความรู้ (Teacher) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (Guide) ทำหน้าที่ให้นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้เป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาเพื่อให้โครงงานสำเร็จลุล่วง ซึ่งประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่นักเรียนได้รับ จึงมิใช่ตัวความรู้ (Knowlesge) หรือวิธีการหาความรู้ (Swarching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะอื่นๆ อีกมากมาย
        1.6    E : Environment (สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสื่อต้นแบบ) สื่อต้นแบบนับเป็นครู ที่พูดไม่ได้ ถ้าหากนักเรียนได้ซึมซับจากสิ่งแวดล้อมที่ดี จะช่วยกล่อมเกลาชีวิตจิตใจให้นักเรียนเป็นคนดี มีความรับผิดชอบ
1.7    หลังการพัฒนา/การเสริมสร้าง โรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อน ความรับผิดชอบของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความคงทนต่อเนื่องและยั่งยืน และทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโรงเรียน เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของโรงเรียน
2.    ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักเรียนอย่างยั่งยืน
2.2    ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคนดีที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนกับสภาพแวดล้อมของบ้าน โรงเรียน วัดและมัสยิดในชุมชนที่นักเรียนอยู่อาศัย
2.3    ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของการเป็นคนดี มีความรับผิดชอบของนักเรียนที่มีต่อชุมชน และสังคมโดยรอบสถานศึกษา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^