โครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข
(Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน นายอภัย ภัยมณี
ผู้อำนวยการโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (D.L.Stufflebeam’ s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการรประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 2) ระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3) ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข 4) ระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน 5) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่าง ครู จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 90 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถาม ด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบับที่ 7 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน และฉบับที่ 8 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .888-980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการประมิน
1. ผลการประเมินมาตรฐาน ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.18) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.56) รองลงมาคือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( = 4.07, S.D. = 0.28) ส่วนตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.64, S.D. = 0.38) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก (= 4.22, = 0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.28, = 0.44) รองลงมาคือ ความพอเพียงของงบประมาณ ( = 4.26, S.D. = 0.37) ส่วนตัวชี้วัด ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 4.16,= 0.46) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
3. ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก ( ,= 4.45, S.D.,= 0.09) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51, = 0.13) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.41, S.D. = 0.24) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
4. ด้านผลิตของโครงการ จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( , = 4.67, S.D., =0.04) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. =0.04) รองลงมาคือ กลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, = 0.07) ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.61,S.D. = 0.13) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
4.2 ผลการประเมินคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( , = 4.51, S.D., =0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. =0.18) รองลงมาคือ ผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52,S.D. = 0.59) ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก (= 4.47 , = 0.17) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. =0.17) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.63,S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
4.4 ผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64,S.D. = 0.15) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. =0.17) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.63,S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2562 จำแนกตามกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( ,= 4.50, S.D., =0.12) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.13) รองลงมาคือ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, = 0.12) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.45,S.D. = 0.13)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
1.2 ควรยกย่อง เชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ แก่บุคลากร หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในรูปแบบวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบ ซิปป์ หรือ (CIPP Model)
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่งผลต่อพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป