การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ผู้วิจัย นายวรรณนุพล จันทะสนธ์
โรงเรียน โรงเรียนบ้านบ่อ อำเภอปรางค์xxx่ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวน การพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) 2.เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาการระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 1.เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การศึกษาระบบ (Systems Investigation) 2) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) 3) การออกแบบระบบ (Systems Design) 4) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) 5) การบำรุงดูแลรักษาและการทบทวนระบบ (Systems Maintenance And Review) และการประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) 2) แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ 1) แบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน 2) แบบบันทึกการนิเทศผลการดำเนินงาน 3) และเครื่องมือแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 2.เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาการระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 57 คน โดยใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ เครื่องมือแบบประเมินโครงการการพัฒนาการระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2563
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การศึกษาระบบ (Systems Investigation) 2) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) 3) การออกแบบระบบ (Systems Design) 4) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) 5) การบำรุงดูแลรักษาและการทบทวนระบบ (Systems Maintenance And Review) 6) การประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) พบว่า ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ข้อที่ 1 การศึกษาระบบ (Systems Investigation) อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.63,S.D. = 0.47) รองลงมาคือ ข้อที่ 2 การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.54,S.D. = 0.51) และข้อที่ 3 การออกแบบระบบ (Systems Design) อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.50,S.D. = 0.51) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 5 การบำรุงดูแลรักษาและการทบทวนระบบ (Systems Maintenance And Review) อยู่ในระดับ มาก (x̄ = 4.41, S.D. = 0.49)
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄ = 4.57,S.D. = 0.60) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄ = 4.67, S.D. = 0.45) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.48) ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.58, S.D. = 0.50) และ ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) อยู่ในระดับ มาก (x̄ = 4.39, S.D. = 0.49)