LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

ผลการดำเนินกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

usericon

ผลการดำเนินกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (นายทัชพงษ์ จันทร์ลี)
1. หลักการและเหตุผล
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่ Sergiovanni (1994) ได้กล่าวว่า PLC เป็นสถานที่สำหรับ “ปฏิสัมพันธ์” ลด “ความโดดเดี่ยว” ของมวลสมาชิกวิชาชีพครูของโรงเรียน ในการทำงาน เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน หรืองานวิชาการ โรงเรียน ซึ่ง Hord (1997) มองในมุมมองเดียวกัน โดยมองการ รวมตัวกันดังกล่าว มีนัยยะแสดงถึงการเป็นผู้นําร่วมกันของ ครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเป็น “ประธาน” ในการเปลี่ยนแปลง (วิจารณ์ พานิช, 2555) การมีคุณค่าร่วม และวิสัยทัศน์ร่วมกัน ไปถึงการเรียนรู้ร่วมกันและการนําสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ อย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน การรวมตัวในรูปแบบนี้เป็นเหมือน แรงผลักดัน โดยอาศัยความต้องการและความสนใจของ สมาชิกใน PLC เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ สู่มาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลัก (Senge, 1990) การพัฒนา วิชาชีพให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์” (วิจารณ์ พานิช, 2555) โดยมองว่า เป็น “ศิษย์ของเรา” มากกว่ามองว่า “ศิษย์ของฉัน”และการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจาก “การเรียนรู้ ของครู” เป็นตัวตั้งต้น เรียนรู้ที่จะมองเห็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อผู้เรียน เป็นสําคัญ
อย่างไรก็ตามการรวมตัวการเรียน การเปลี่ยนแปลงใดๆ เป็นไปได้ยากที่จะทำเพียงลำพังหรือเพียงนโยบาย เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียน จึงจำเป็นต้องสร้างความเป็น PLC ที่สอดคล้องกับธรรมชาติทางวิชาชีพร่วมในโรงเรียน ย่อมมีความ เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (Senge, 1990) ชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทางวิชาชีพ มีฉันทะ และศรัทธาในการทํางาน “ครูเพื่อศิษย์ร่วมกัน” บรรยากาศ การอยู่ร่วมกันจึงเป็นบรรยากาศ “ชุมชนกัลยาณมิตร ทางวิชาการ” (สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์, และ คงกฤช ไตรยวงศ์, 2553) ที่มีลักษณะความเป็นชุมชน แห่งความเอื้ออาทรอยู่บนพื้นฐาน “อำนาจเชิงวิชาชีพ” และ “อำนาจเชิงคุณธรรม” (Sergiovanni, 1994) เป็นอำนาจที่สร้างพลังมวลชนเริ่มจากภาวะผู้นำร่วมของครูเพื่อขับเคลื่อนการ ปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา (Fullan, 2005)
กล่าวโดยสรปุ PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีม เรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแลสนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้

2. วัตถุประสงค์
    1. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์แก่ผู้เรียน
    2. เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
    3. เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

3. วิธีการดำเนินงาน
    แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)
    1. ให้แต่ละคนในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และหมวดวิชาคณิตศาสตร์ คิดแนวทางแก้ไขปัญหา 1 เรื่อง จากประเด็น ต่อไปนี้
     1.1 ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน
     1.2 ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนของครู หรือเทคนิควิธีการสอนที่ครูควรพัฒนา
    2. จัดทำโครงการ / กิจกรรม การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
    กระบวนการของ (PLC)
    ขั้นตอนที่ 1 Community สร้างทีมครู
ขั้นตอนที่ 2 Practice จัดการเรียนรู้ เช่น การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา และนำสู่การปฏิบัติ โดยมีการเปิดห้องเรียน เพื่อการสังเกตการณ์สอน ใช้แบบการประเมินการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน(นิเทศการสอน)
ขั้นตอนที่ 3 Reflection สะท้อนคิดเพื่อการพัฒนาปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 4 Evaluation ประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู
ขั้นตอนที่ 5 Network Development สร้างเครือข่ายการพัฒนา

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มตามกระบวนการ PLC
     -Model Teacher หมายถึง ครูผู้รับการนิเทศ หรือครูผู้สอน
-Buddy Teacher หมายถึง ครูร่วมเรียนรู้
-Mentor หมายถึง หัวหน้าแผนก
-Expert หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญ
-Administrator หมายถึง ผู้บริหาร
-Recorder หมายถึง ผู้บันทึกรายงานการประชุม
4. วัน เวลา สถานที่ ในการดำเนินงาน
ระยะเวลา : ตั้งแต่ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2564
สถานที่ : ห้องสะเต็มศึกษา อาคาร 7 วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี

5. สรุปผลการดำเนินงาน
5.1 ประเด็นด้านผู้เรียน
     -ผู้เรียนพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
     - คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
     - มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
     - ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ตามทฤษฎีสะเต็ม
     - ผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
5.2 ประเด็นด้านกิจกรรม
     -ลักษณะ ความเหมาะสม ประสิทธิภาพกิจกรรม ขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน วิธีการสอน เทคนิคการสอนต่าง ๆมีประสิทธิภาพ
- เป็นลักษณะกิจกรรมมีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล
     - การบริหารจัดการชั้นเรียน เพื่อทำกิจกรรมการทดลอง หรือการจัดกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม
     - กิจกรรมการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และนำไปสู่ชิ้นงาน ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
     - การกำหนดเวลา และโครงสร้างเหมาะสมกับเนื้อหา กิจกรรม ระดับความสามารถของผู้เรียน
5.3 ประเด็นด้านครู
     -ครูมีการใช้คำถาม คำอธิบาย การปฏิบัติ หรือการใช้สื่อ
- ครูมีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา กับการปฏิบัติการทดลอง ที่ต้องการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์
     - ครูจะทำหน้าที่ เป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และดึงศักยภาพผู้เรียนให้สามารถ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ได้ด้วยตนเอง สร้างแรงบันดาลใจในการเรียน
     -ผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป
5.4 ประเด็นด้านสื่อการสอน
     - สื่อกิจกรรมและแหล่งการเรียนรู้มีความถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
- สื่อมีความเพียงพอ เหมาะสม
     - สื่อสามารถ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถทางคณิตศาสตร์
5.5 ประเด็นด้านบรรยากาศ
     - สภาพแวดล้อมของชั้นเรียน หรือสถานที่เรียน มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การยอมรับความคิดเห็น คำถาม และการช่วยเหลือของผู้เรียน
     - บทเรียนส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์

    จุดแข็งจุดอ่อนของการสอน
     - มีการนำกิจกรรมการเรียนรู้ TEIP ตามทฤษฎีสะเต็ม เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน
     - กระบวนการการทำงานพัฒนาวิชาชีพครูแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีระบบการทำงานตามรูปแบบ PDCA

6. อภิปรายผลการดำเนินงาน
6.1 ผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการ
     1) มีองค์ความรู้ นวัตกรรม และประเด็นความรู้ที่น่าสนใจ ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกเครือข่าย ที่เป็นประโยชน์กับครู และครูสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม(สมาชิกเครือข่ายนำไปใช้ได้อย่างชัดเจน)
2) มีร่องรอยการรายงานผลการนำองค์ความรู้ นวัตกรรม และประเด็นความรู้ที่น่าสนใจ ที่เกิดขึ้นของสมาชิกเครือข่ายไปใช้ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการทุกครั้งที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสมาชิกทุกคน
     3) ผู้สอนหลักและสมาชิกในกลุ่ม PLC สามารถนำผลการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด โดยมีครูผู้สอนหลักเป็นผู้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ จุดเด่นและขุดที่ต้องการพัฒนาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    6.2 ) ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน / ครู / สมาชิกที่เข้าร่วมเครือข่าย
     1) ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ และมีความชัดเจนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
     2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น และทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเกิดคุณลักษณะอย่างชัดเจน
3) ผู้สอนได้รับความรู้และประสบการณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และผู้สอนได้รับนวัตกรรมและเริ่มวางแผนจัดทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
     4) ผู้สอนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถนำนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทำวิจัยในชั้นเรียนไปใช้พัฒนาคุณภาพในการจัดการเรียนรู้
    6.3 คุณค่าที่เกิดต่อวงการศึกษา
     1) มีเครือข่ายอย่างชัดเจน และการขยายเครือข่ายแล้วมีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีแนวโน้มการเกิดเครือข่ายเพิ่มขึ้น
2) การร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ให้ผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน โดยครูที่เป็นสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพทุกคนวางเป้าหมายร่วมกัน

7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ได้นวัตกรรมแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้เอกสารประกอบการสอน บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ TEIP ตามทฤษฎีสะเต็ม ที่ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์
7.2 ผู้เรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น
7.3 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และรายวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น
7.4 นำไปสู่การอบรมพัฒนาครู และรวบรวมส่ง เพื่อเก็บเป็นหลักฐานในการรายงานต่อไป
7.5 ได้รายงานการวิจัย เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนครั้งต่อไป ที่เกิดจากการพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งนี้

8. ร่องรอย/หลักฐาน
8.1 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้เอกสารประกอบการสอน บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ TEIP ตามทฤษฎีสะเต็ม วิชาวิทยาศาสตร์งานก่อสร้างและตกแต่งภายใน รหัสวิชา 30000-1306
8.2 เอกสารประกอบการสอน บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ TEIP ตามทฤษฎีสะเต็ม วิชา วิทยาศาสตร์งานก่อสร้างและตกแต่งภายใน รหัสวิชา 30000-1306
8.3 ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
8.4 ภาพการพูดคุย ปรึกษากับสมาชิกกลุ่ม PLC
8.5 หลักฐานการนิเทศการสอน
8.6 แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
8.7 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8.8 การจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่
8.9 รายงานวิจัย
8.10 ตารางเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

9. บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน
    ครูผู้สอนได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่หลากหลายในห้องเรียน และพฤติกรรมของนักเรียนที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล รวมไปถึงเรียนรู้ที่จะหาแนวทางในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่แตกต่างกันผ่านการอภิปรายร่วมกันกับเพื่อนครูและนักเรียน
ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ เป็นกระบวนการที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่า สะท้อนผลเชิงวิชาชีพ โดยการพูดคุยสนทนากันระหว่างสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ ที่จะก่อให้เกิดผลทางบวกต่อการเรียนการสอนและคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา หรือช่วยพัฒนาการจัดการเรียนรู้และส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

10. สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
พัฒนาการเรียนการสอน ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณธรรม โดยการจัดทำสื่อแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้สื่อ ระหว่างการดำเนินการ และหลังการดำเนินโครงการ ได้จัดทำวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินครั้งต่อไป ซึ่งผู้ร่วมโครงการ จะพัฒนาการเรียนการสอน ด้วยเอกสารประกอบการสอน บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเรียนรู้จากทฤษฎี การเรียนรู้จากการทดลอง การเรียนรู้จากนวัตกรรม และการเรียนรู้จากโครงงาน ตามทฤษฎีสะเต็ม ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มเติมการเรียนรู้อีกทางหนึ่ง และยังเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนต่อไป

11. ปัญหา/อุปสรรค
    ผู้เรียน ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ทั่วถึงกัน

12. ข้อเสนอแนะ
    ควรแบ่งกลุ่ม หน้าที่การปฏิบัติ ให้ทำกิจกรรมทั่วถึง


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^