LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

usericon

ชื่อเรื่อง         พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
ชื่อผู้วิจัย        นางศศิธร นารินนท์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
ปีที่วิจัย        2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดและตรวจสอบนิยาม ความสามารถ และพฤติกรรมบ่งชี้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในแต่ละด้าน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Develop : D & D) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implement : l) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และ    ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตร (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพมีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านอย่างวิจารณญาณ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนยังขาดโอกาสในการสนับสนุนการใช้ศักยภาพในการคิดเท่าที่ควร โดยเฉพาะวิธีการคิดออกแบบ เนื้อหาและเลือกใช้ข้อความในการคิดที่มีเหตุผลหรือข้อโต้แย้ง เพื่อชักจูงโน้มน้าวให้ผู้อ่านคิด ด้วยการไตร่ตรองและยอมรับเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเข้าใจ ทั้งนี้ผู้สอนเห็นว่าการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาพิจารณาดำเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียน มีศักยภาพในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ สำหรับผู้เรียนด้านการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารแก่ผู้อื่นที่ถูกต้องและมีคุณค่า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อจูงใจและท้าทายการคิดไตร่ตรองพร้อมใช้เหตุผลอ้างอิงของผู้เรียน อีกทั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนมากยังมีความสามารถพื้นฐานและการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับพอใช้ และต้องการการพัฒนาให้มีความสามารถในด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดระยอง พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนองและ 6) ระบบสนับสนุน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสนับสนุน ได้แก่ แนวคิดการให้เหตุผล (Reasoning) และแนวคิดการคิดสะท้อนกลับ (Reflection) การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (Concept Learning) และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Constructivist) ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 การอ้างอิง (Inferences) ขั้นที่ 2 การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Recognition of Assumptions) ขั้นที่ 3 การนิรนัย (Deduction) ขั้นที่ 4 การตีความ (Interpretation) และขั้นที่ 5 การประเมินสรุปอ้างอิงข้อโต้แย้ง (Evaluation of Arguments) และ 3) ขั้นสรุป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 28.00 และ 32.80 ตามลำดับ
4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้
    4.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 28.21 และ 33.29 ตามลำดับ
    4.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^