การประเมินโครงการสุขภาพดีมีสุขทุกกิจกรรม โรงเรียนนบ้านนิคมวังหิน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน : นางสาวสุนิศา ภักดิ์จันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนิคมวังหิน
ปีการศึกษา : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสุขภาพดี มีสุข ทุกกิจกรรม โรงเรียนบ้านนิคมวังหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการในประเด็นด้านความต้องการจำเป็นของโครงการเความชัดเจนและเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ของกิจกรรมในโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรภายนอก 2)เประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการในด้านบุคลากรเงบประมาณเสถานที่เสื่อวัสดุอุปกรณ์และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการเ3)เประเมินกระบวนการของโครงการในด้านการวางแผนดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผน การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผลกิจกรรม การสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ (ความรู้) ด้านสภาวะสุขภาพของนักเรียน (สุขภาพดี) การปฏิบัติตนให้มีความสุข (มีสุข) และกิจกรรมสร้างสุขภาพและด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ
ประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการนี้จำนวน 375 คน ประกอบด้วยนักเรียน จำนวน 193 คน ครูผู้สอน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 162 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7เคนเกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 80 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนเ30เคน (สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากชั้นละ 6 คน) ครูผู้สอน จำนวนเ13เคน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30เคน (ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวคิดของลิเคิร์ต จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทและปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ แบบสอบถามมี 4 ตอน ข้อคำถาม 76 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการเประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ แบบสอบถามมี 3 ตอน ข้อคำถาม 46 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ฉบับที่เ3เแบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ แบบสอบถามมี 3 ตอน ข้อคำถาม 57 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93เและฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ แบบสอบถามมี 3 ตอน ข้อคำถาม 18 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบข้อคำถามในแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS 16.0 for Windows ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ความชัดเจนและเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ของกิจกรรมในโครงการและการได้รับ การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยพบว่าด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยพบว่าด้านการวางแผนการดำเนินงาน มีความเหมาะสมมากที่สุดเรองลงมาคือเด้านการสรุปและรายงานผลเด้านการประเมินผล การดำเนินงาน ด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผนและด้านการนิเทศกำกับติดตาม ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการสุขภาพดี มีสุข ทุกกิจกรรม พบว่า โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีผลการประเมินดังนี้
4.1เการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยพบว่า ด้านกิจกรรมสุขภาพ (กิจกรรม) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ (ความรู้) ด้านสภาวะสุขภาพของนักเรียน (สุขภาพดี) และด้านการมีความสุข (มีสุข) ตามลำดับ
4.2 การประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการสุขภาพดีเมีสุขทุกกิจกรรม โรงเรียนบ้านนิคมวังหิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดใน 3 ลำดับแรกพบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อนักเรียนที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดีเรวมทั้งมีความสุขในการดำเนินชีวิตเมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมในโครงการสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียนให้ดีขึ้นได้และทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการสุขภาพดี มีสุข ทุกกิจกรรม ตามลำดับ