LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการ

usericon

หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย    นางสาววริฐา ไมตรีจิต
ปีการศึกษา    2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 1 คน ครูผู้สอนระดับปฐมศึกษา 6 คน ศึกษานิเทศก์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย 5 คน รวมทั้งหมด 12 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 4 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๕ (พหลโยธินรามินทรภักดี) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม 2) เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ และแบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบด้าน ความสอดคล้อง และ 3) เครื่องมือตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้ในสภาพจริง ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.    ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ พบว่า การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรมด้วยตนเอง ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนให้มาก เน้นกิจกรรมที่ให้เด็กลงมือปฏิบัติ กิจกรรมควรง่ายไม่ซับซ้อน สร้างบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด ให้เด็กมีกิจกรรมฝึกทักษะร่วมกันเป็นกลุ่ม ครูมีความเป็นกันเองกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กสอบถามเมื่อเกิดข้อสงสัยได้เสมอ และใช้สื่อที่หลากหลาย ทั้งของจริง ภาพ และเสียง กิจกรรมที่ให้เด็กปฏิบัติไม่ควรเกิน 20 - 30 นาทีต่อวัน การประเมินผลควรทำทั้งในระหว่างการจัดประสบการณ์แต่ละสัปดาห์ และประเมินในภาพรวมหลังการจัดประสบการณ์จบทุกสัปดาห์ หากพบว่าเด็กยังมีข้อบกพร่องควรแนะนำให้เด็กแก้ไขและปรับปรุงได้ทันที ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดประสบการณ์เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้แก่เด็ก และบางครั้งให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อน จากบุคคลอื่นที่มีการถ่ายทอดความรู้ได้ชัดเจนในสถานการณ์จริง สนุกสนาน ได้เรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเอง
2.    ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ แยกผลที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ผลการสร้างรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย หลักการ และวัตถุประสงค์ (2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Motivation) ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (Active learning) ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน (Review) และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) (3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า คุณภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ด้านความเป็นไป และด้านความสอดคล้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบจากการทดลองแบบภาคสนาม พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.25/86.40 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผลคะแนนการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.17 คิดเป็นร้อยละ 90.83 เมื่อจำแนกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้าน พบว่า ด้านการจำแนกและเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 4.77 คิดเป็นร้อยละ 95.33 รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการจัดหมวดหมู่มีคะแนนเฉลี่ย 4.63 คิดเป็นร้อยละ 92.67 ด้านการเรียงลำดับมีคะแนนเฉลี่ย 4.50 คิดเป็นร้อยละ 90.00 และด้านการรู้ค่าจำนวนตัวเลขมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด เท่ากับ 4.27 คิดเป็นร้อยละ 85.33 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
4.    การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.61/90.83 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จึงสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ต่อและเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ด้านการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้ต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^