การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ผู้ประเมินโครงการ นายบรรจบ จิตรหลัง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาทุ่ง วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิต
ของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวนทั้งสิ้น 190 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 100 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 70 คน ซึ่งสรุปผลการประเมิน ได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
1. ด้านบริบท (Context Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านนาทุ่งมีความคิดเห็นต่อระดับความสอดคล้องของบริบท โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ความสอดคล้องของโครงการกับสภาพของชุมชน ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ความสอดคล้องของโครงการกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553 ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 และความสอดคล้องของโครงการกับเวลาและสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบัน ระดับความคิดเห็นมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านนาทุ่งมีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้น โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง โดยรวมในระดับ
มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร ระดับ
ความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ระดับ
ความคิดเห็นมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านนาทุ่ง มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง โดยรวมในระดับ
มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นขั้นตอนพบว่า ขั้นตอนที่มีความคิดเห็นมากที่สุดคือ ขั้นประเมินผล ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนขั้นตอนที่มีคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ขั้นการเตรียมการ ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ด้านคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการประเมินพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านนาทุ่ง มีความคิดเห็นต่อระดับพฤติกรรมของนักเรียน โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง ด้านคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวม ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นมากที่สุดคือ เงื่อนไขคุณธรรม ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนด้านที่มีคิดเห็นน้อยที่สุด คือ การมีเหตุผล ระดับความคิดเห็นมากที่สุด
ด้านความรู้และทักษะของนักเรียน ผลการประเมินพบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะ โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้และทักษะ ด้านมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต มากที่สุด ส่วนด้านที่นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมินความรู้และทักษะ น้อยที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรม